ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการปรับตัวของหญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ณัฐชยา สแตนตัน
กาญจนา ไชยพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ต่อการปรับตัวของ หญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติในจังหวัดขอนแก่น รูปแบบที่ใช้ในการทดลองคือ One Group Pretest – Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ ที่มีระดับคะแนนการปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง และ สมัครใจเข้าร่วมกลุ่มการให้คำปรึกษา จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ในตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฏีของโรเจอร์ส จำนวน 7 ครั้ง ครั้ง ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามการปรับตัว และโปรแกรมการให้ คำปรึกษาแบบกลุ่มซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ภายหลังการทดลองเสร็จสิ้นให้หญิงไทยที่เข้าร่วมกลุ่มการ ให้คำปรึกษา ตอบ แบบสอบถามการปรับตัวชุดเดิมอีกครั้ง แล้วนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test สำหรับหาความแตกต่างของระดับคะแนนการปรับตัวก่อนและ หลังการทดลอง

ผลการวิจัยพบว่า

1. หญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ ต้องมีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ ภรรยา และการพึ่งพาระหว่างกันและกันหลังชีวิตสมรส คือ การบริหารจัดการ การยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ภาษา ทัศนคติและค่านิยม

2. หญิงไทยที่เข้าร่วมกลุ่มการให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฏีของโรเจอร์ส ภายหลังจากการให้คำปรึกษาแล้ว พบว่า มีระดับคะแนนการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของภรรยา และการพึ่งพาระหว่างกันและกันสูงขึ้น กว่าก่อนการ ให้คำปรึกษาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่.05

 

The Effects of Group Counseling on the Adjustment of Thai women who married Foreigners in Khon Kaen Province.

Nutchaya Stanton1) Dr. Ganjana Chaiyapan2)

1)Department of Educational Psychology and Counseling, Faculty of Education, Khon Kaen University

2)Associate Professor, Department of Educational Psychology and Counseling, Faculty of Education, Khon Kaen University

The purpose of this research was to study the adjustment of Thai women who married foreigners in Khon Kaen province based on the Rogers theory. By using the experimental one group pretest – posttest design and selecting the sampling group by purposive sampling, a sample group of Thai women who married foreigners with the score adjustment at the medium level and volunteered joined the group counseling are 7 persons by sampling in Thaphra sub-district, Muang khon kaen, Khon Kaen province. The experimental group participate in group counseling based on the Rogers theory, 7 sessions for 1 hour in each session. After the counseling group had completed 7 sessions it will be tested again for adjustment in the questionnaire. The statistic used was The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test. The results of the study revealed that after the experiment. Thai women who attended group counseling to improve adjustment on the role of wife and dependency between each other were higher than before the group counseling at the 0.05 significant level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)