บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30

Main Article Content

วัชรากรณ์ เบ้าจันทึก
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา และ 3) แนวทางในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 กลุ่มตัวอย่าง เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 37 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 318 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.964 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูปและวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) จากการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ การศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ระดับปฏิบัติมากที่สุด คือการจัดการ เรียนการสอน รองลงมา คือ การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการและบริการ และที่ต่ำสุด คือโครงสร้างพื้นฐาน

2. สภาพปัญหาในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการและบริการ ประกอบด้วย 1) งบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอ 2) ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และ3) เว็บไซต์ของสถานศึกษาขาดประสิทธิภาพในการให้บริการ

3. แนวทางในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้การสนับสนุนในการนำนโยบายและแผนไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 2) ควรจัดหาเครื่อง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ให้เพียงพอ 3) ควรส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้สามารถสร้างสื่อการสอนด้วย คอมพิวเตอร์ และ4) ควรจัดทำระบบติดตามและประเมินผล

 

School Administrators’ Roles in Developing an Information Communication Technology Systems for Education of Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 30

Watcharakorn Baojanthuek1) and Dr. Thanomwan Prasertcharoensuk2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University

The objectives of this research were: 1) to study the administrators’ operate level in developing an information communication technology systems for education of schools, 2) to study problems in developing an information communication technology systems for education of schools and 3) to propose the guideline of developing information communication technology for learning under the office of secondary educational service area 30. Sampling group was 37 schools in basic education consisted of 318 administrators and teachers from schools. There are 8 administrators to interview. Research tools consisted of surveys, questionnaires and interviews. Statistics for data analysis, using a computer program, included percentage, mean, and standard deviation. Content analysis was conducted through the interview.

The findings were as follows:

1) All aspects of the administrators’ operate in developing an information communication technology systems for education were at a high level. These could be respectively ranked from high to low as follows; teaching and learning, personnel development, management and service and infrastructure.

2) Problems in developing an information communication technology system for education of schools, the aspect with the most problem was management and service as follow; 1) insufficient budget support, 2) lacking of knowledgeable personnel and 3) schools’ website was inefficiency.

3) Guideline of developing information communication technology for learning to administrators should be as follow; 1) support in the implementation of policies and plans to practice constantly, 2) provide sufficient computer, equipment and software 3) promote and develop personnel to create teaching materials with the computer and 4) prepare a monitoring and evaluation system.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)