รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตตรวจราชการที่ 11 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ดำรง มูลป้อม
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
วัฒนา สุวรรณไตรย์
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูป แบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตตรวจราชการที่ 11 สังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(R&D) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การหาองค์ประกอบของรูปแบบโดยการวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เขตตรวจราชการที่ 11 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา2554 จำนวน 133 โรงเรียน รวม 266 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและปรับปรุงรูปแบบ ยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน และระยะที่ 3 การทดลองใช้ รูปแบบโดยการทดลองกับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นกลุ่มทดลองใช้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตตรวจราชการที่ 11 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาครู 2) การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมาย การเรียนรู้ 3) การบริหารหลักสูตรและการสอน และ 4) การพัฒนานักเรียน

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตตรวจราชการที่ 11 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เอกสารประกอบการพัฒนา4) กระบวนการของรูปแบบ และ 5) การติดตามผลประเมินผล และกระบวนการของ รูปแบบการพัฒนาประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะก่อนปฏิบัติการ ระยะปฏิบัติการ และระยะติดตามผล

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กพบว่า1) คะแนนทดสอบหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 82.84 2) ผู้บริหาร โรงเรียนขนาดเล็กมีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 64.65 และ 3) ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีความคงสภาพของภาวะผู้นำทางวิชาการคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 28.57 จากผลการทดลองพบว่าผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีความก้าวหน้าและมีความคงสภาพของภาวะผู้นำทาง วิชาการ แสดงว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตตรวจราชการที่ 11 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้

 

The Development Model of Instructional Leadership for Small School Administrators Under the Office of the Basic Education Commission in the Inspection Region 11

Dumrong Moonpom1) Dr.Sikan Pienthunyakorn2) Dr.Watana Suwannatrai2) and Dr.Vijittra Vonganusith2)

1) Department of Leadership in Educational Administration, Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon, Thailand,4 7000

2) Assistant Professor, Doctor of Education Program, Department of Educational Administration and Leadership, Sakon Nakhon, Rajabhat University Sakon Nakhon, Thailand, 47000

The purposes of this research were 1) to examine the component of instructional leadership of small school administrators, 2) to construct a model of instructional leadership development for small school administrators, and 3) to explore the effects after the implementation of the model of instructional leadership development for small school administrators in the Educational Inspection 11 under the Office of the Basic Education Commission. This Research and Development (R&D) consisted of three phases: Phase I Model Analysis was related to developing a research conceptual framework, components of instructional leadership, and model development analysis through document inquiry and a survey research, The samples were 266 school administrators and teachers who worked at Academic Affairs Division in the 2011 academic year from 133 small schools in the Educational Inspection 11 under the Office of the Basic Education Commission. The research instrument was a five – point rating scale questionnaire. The data were analyzed in terms of frequency, percent¬age, mean, and standard deviation. Phase II Model Construction and Refinement based on scholars’ reviews, and Phase III was related to a model implementation. The developed model was conducted in small schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The samples were 10 small school administrators.

The findings were as follows:

1. The components of instructional leadership for small school administrators in the Educational Inspection 11 under the Office of the Basic Education Commission involved four main components. These components were: 1) capacity to support teachers’ professional development, 2) capacity to create vision and learning goals, 3) capacity to manage curriculum and instruction, 4) capacity to improve students’ development.

2. The developed model of instructional leadership for small school administrators in the Educational Inspection 11 under the Office of the Basic Education Commission comprised 1) principles, 2) objectives, 3) materials, 4) procedures, and 5) monitoring and evaluation. The procedure of the developed model involved three phases: pre-workshop, actual practice, and monitoring period.

3. The effects after the model implementation revealed that 1) the mean scores after the workshop was higher than that of before the workshop with the progressive percentage of 82.84, 2) the participating small school administrators developed their instructional leadership with the progressive percentage of 64.65, and reported the retention on instructional leadership with the progressive percentage of 28.57.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)