บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

สุติพงษ์ อมูลราช
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1)บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของสถานศึกษา 2)ปัญหาของผู้บริหาร สถานศึกษาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของ สถานศึกษา 3)รูปแบบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนด้าน การศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 84 แห่ง โดยมีรูปแบบวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methods research) การดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระยะที่สอง เป็นการสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอโดยใช้ความเรียงและสังเคราะห์เป็นรูปแบบการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ สนับสนุนด้านการศึกษาของสถานศึกษา ในภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไป หาน้อย คือ ด้านเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ด้านระบบสารสนเทศ ด้านระบบฐานข้อมูล และด้านระบบเครือข่ายตาม ลำดับ

2. ปัญหาของผู้บริหารในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของสถานศึกษา ในภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับน้อย พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงจากมาก ไปหาน้อย คือ ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้านเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ด้านระบบสารสนเทศ และด้านระบบ ฐานข้อมูล ตามลำดับ

3. รูปแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนด้านการ ศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผนการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือการสำรวจสภาพปัจจุบัน การศึกษาความเป็นไปได้และการวิเคราะห์ระบบ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาท เป็นผู้นำด้านการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในสถานศึกษา เป็นผู้นำประสานความ ร่วมมือกับทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และ เป็นผู้นำในการจัดทำแผนการพัฒนา 2) ขั้นดำเนินการ ตามแผนงาน ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ การออกแบบระบบ และการพัฒนาระบบ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมี บทบาท เป็นผู้นำประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และเป็นผู้นำในการจัดหางบ ประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนา 3) ขั้นตรวจสอบและประเมินผล ประกอบด้วย 1 กระบวนการ คือ การนำระบบไปใช้ งาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาท เป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแก่บุคลากร ในสถานศึกษา และ เป็นผู้กำกับติดตามและประเมินผล และ 4) ขั้นปรับปรุงแก้ไขและบำรุงรักษา ประกอบด้วย 1 กระบวนการ คือ การปรับปรุงแก้ไข และบำรุงรักษาระบบ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาท เป็นผู้นิเทศหรือให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขและบำรุงรักษาระบบ

 

School Administrators’ Roles in Development of Information Communication Technology Infrastructure for Education Support of Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25

Sutipong Amoonrach1) and Dr. Thanomwan Prasertcharoensuk2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University

The purposes of the study were 1) to study the current operation of the school administrators’ roles in development of information communication technology infrastructure for education support of schools, 2) to study the problem of the school administrators’ roles in development of information communication technology infrastructure for education support of schools, 3) to study the modeling of information communication technology infrastructure development for education supporting in schools. The target groups of this study were school administrators and teachers from 84 schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25; by utilizing mixed methods research. This research was conducted into two phases: first phase, collected the quantitative data by using surveys and questionnaires, and data was analyzed by utilizing computer program for analyzing descriptive statistics including frequency, percentage and standard deviation; second phase, collected the data by interviewing. Then conduct the interview data to content analysis by composing and synthetic model of information communication technology infrastructure development for education supporting from educational institute executives.

Research findings were as follows;

1. Overview of current operation from school administrators’ roles in information communication technology infrastructure development for education supporting in schools level were at the high level. And these aspects could be orderly ranked from high to low level as follows; computer hardware, information technology system, data base system and network system.

2. Overview of problems from school administrators’ roles in information communication technology infrastructure development for education supporting in schools level were at the low level. And these aspects could be orderly ranked from high to low level as follows; network system, computer hardware, information technology system and data base system.

3. Modeling of information communication technology infrastructure development for education supporting is composed with four steps as follows; firstly step, planning for operate with three processes, which consisted of surveying the current status, feasibility study and system analysis. Administrator’s role for planning was being a leader of utilizing innovation and information and communication technology in schools, being a leader for coordination and cooperation with all sectors, both inside and outside the school and being a decision maker on advance issues of information technology and communication education. Secondly step, doing follow by planning with two processes which consisted of system designing and system development. Administrator’s roles for doing was being a leader for coordination and cooperation with all sectors, both inside and outside the school, being a leader for finding budget to develop information technology and communication system in school. Thirdly step, checking and evaluate by implement the system. Administrator’s roles for checking was being a supporter for developing information technology and communication to staffs in school, and being a director of monitoring and evaluation. Finally step, taking action for improvement and maintenance system. Administrator’s role was being a supervision and adviser.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)