การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขต ภาคเหนือตอนบนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มากที่สุดคือ การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ การจัดโครงสร้างและทรัพยากร การบริหารบุคลากร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการติดตาม ประเมินผลตามลำดับ 2) ปัญหาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบนในแต่ละ ด้านพบว่า ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ไม่มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคอย่างชัดเจน จึงทำให้คลาดเคลื่อนและไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษา ด้านการจัดโครงสร้างและทรัพยากร การจัดหา ทรัพยากรเพื่อสนับสนุนทุกแผนงาน กิจกรรมโครงการยังไม่เพียงพอ ด้านการบริหารบุคลากรและการอำนวยการ ผู้บริหารไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในการพัฒนาสถานศึกษา ด้านการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน และด้านการ ติดตามและประเมินผล ไม่มีระบบการติดตามและประเมินผลที่มีคุณภาพ
The Strategic Management of Administrator in Private Vocational School upper Northern Thailand
Jiratchaya Phala* and Dr. Veerapan Siririth
1)Department of Educational Administration, Faculty of Education, Chiangrai Collage, Chiangrai, Thailand, 57000
The objectives are study the conditions and the problems.The samples consisted of 115 directors and vice directors who have licenses for working as the manager of Private Vocational schools’ administrators in Upper Northern.The statistics used are frequency, percentage, mean ( ) and standard deviation (S.D.) The findings are as follows: With regard to the conditions of strategic management of Private Vocational schools’ administrators in Upper Northern, it is at a good level, in overall. It can be categorized from good level to low level; strategic implementation, setting up the organization structure and resources, personnel and directing management, and strategic management and following-up the evaluation.
Regarding to the most problem are found from the study categorized from each aspect; 1) They do not have SWOT analysis clearly and not in accord with the schools’ target development. 2) Finding resources for supporting every plans and projects are not enough. 3) The directors do not offer chances for the personnel to express their opinions freely in developing the schools. 4) The directors do not support their personnel to share, learn experiences together and brain storming according to the schools’ strategies. 5) The directors do not follow up and improve the evaluation.