ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

เมตตา สอนเสนา
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรง จูงใจในการปฏิบัติงานของครู และเพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรง จูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยใช้การวิจัยเชิง สำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ผู้บริหารจำนวน 184 คน และครูจำนวน 3,700 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการบริหาร หลักสูตรการเรียนการสอน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านเงินเดือน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 อยู่ระหว่าง 0.60 – 0.78 พบว่า ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ กันทางบวก อยู่ในระดับ “มาก” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่ามี 4 ด้านที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ได้แก่ ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (X2) ด้านการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน (X5) ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน (X1) ด้านการนิเทศและการประเมินผลการปฏิบัติงานสอน (X4) โดยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.71 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 71.0 ซึ่งมีค่านัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01โดยสามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)

Y = 0.900 + 0.292(X2)** + 0.134 (X5)** + 0.127(X1)** +0 .101(X4)**

สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)

Z = 0.338(ZX2)** + 0.166 (ZX5)** + 0.159 (ZX1)** + 0.158 (ZX4)**

 

Instructional Leadership of the School Administrators Affecting Performance Motivation of Teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 25.

Matta Sonsana1) and Dr. Wallapha Ariratana2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

2) Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

The objectives of this research were: 1) to study level Instructional Leadership of the Schools Administrators’ affecting performance motivation of teachers, 2) to study Level the Motivation Performance of Teachers in Schools , 3) to study relationship between Instructional Leadership of the Schools Administrators’ affecting performance motivation of teachers and 4) to study the School Administrators’ Instructional Leadership affecting the Motivation performance of Teachers in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25. The research design was Survey Research. The population consisted of the school administrators and teachers under jurisdiction of The Office of Secondary Educational Service Area 25, including 184 administrators and 3,700 teachers. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan’ Table (1970). The samples were 125 administrators and 353 teachers. The research instrument was the Questionnaire. Data were analyzed by using SPSS for Windows Computer Program to find the Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and creating the Stepwise Multiple Regression Analysis.

The research findings found that:

Instructional Leadership of the Schools Administrators’ affecting performance motivation of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 25 , in overall, was in “High” level. The Teacher Development to be Professional Teachers found with the highest mean while the lowest one was the Curriculum and Instruction Management.

Instructional Leadership of the Schools Administrators’ affecting performance motivation of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 25, in overall, was in “High” level. the Salary found with the highest mean while the lowest one was the Work Success.

The relationship between Instructional Leadership of the Schools Administrators’ affecting performance motivation of teachers under the Office of Secondary Service Area 25, ranged between 0.60-0.78 which were in “High” found that Instructional Leadership of the Schools relationship organization at 0 .01 significant level.

Instructional Leadership of the School Administrators’ affecting performance motivation in Work Practice of Teachers in Schools under jurisdiction of The Office of Secondary Educational Service Area 25, There were 4 aspects affecting the Motivation in Work Practice of Teachers in Schools most: 1) the Development of Climate and Culture facilitating Learning ( X2 ), 2) the Curriculum and Instructional Management ( X5 ), 3) the Development of Students’ Potentiality ( X1 ) 4) the Determination of Direction of Change respectively. ( X4 ) The value of Multiple Correlation Coefficient was 0. 71 The Predictive Coeffi¬cient or Predictive Power was 71.0% at .01 significant level.

The Predictive Equation could be constructed in Unstandardized Score, and Standardized Score by Stepwise technique as follows:

The Predictive Equation in Unstandardized score:

Y = 0.900 + 0.292(X2)** + 0.134 (X5)** + 0.127(X1)** +0 .101(X4)**

The Predictive Equation in Standardized score:

Z = 0.338(ZX2)** + 0.166 (ZX5)** + 0.159 (ZX1)** + 0.158 (ZX4)**

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)