การพัฒนาครูในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วิธีการพัฒนา ตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ: กรณีศึกษาโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม จำนวน 24 คนโดยใช้วิธีการ พัฒนาคือ 1) การประชุมเพื่อสร้างความ เข้าใจและสร้างความตระหนัก 2) การศึกษาดุงาน 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 4) การนิเทศ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ6) การประชาสัมพันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบแจกแจงข้อค้นพบที่สำคัญ ตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิควิธี การแบบสามเส้า (Triangulation Technique) ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี คือ การสัมภาษณ์ การบันทึก การสังเกต และการใช้แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การบันทึก และการสังเกต นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบ พรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
ในวงจรรอบที่ 1 ครูโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคมมีความเข้าใจสามารถดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนได้เป็นอย่างดีแต่ยังมีปัญหาในขั้นตอนที่มีการดำเนินงานไปแล้วนั้นครูที่ปรึกษาบางท่านยังไม่เข้าใจในบางขั้นตอน ขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงานจึงได้ดำเนินการพัฒนาครูในวงจรที่ 2 ทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือได้ดีขึ้น และสามารถปฏิบัติงานตาม 6 ขั้นตอนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนภายในโรงเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูเข้าใจถึงบทบาท ของผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความมั่นใจที่จะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลช่วยในการเสริมสร้างคุณภาพที่ดีแก่นักเรียนในการแสดงออกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ นักเรียนมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น
Teacher Development in Aspect of The Student Care and Support System: a Case Study at Buayaipittayakom School
Chatchai Chomkhunthod1) and Dr. Arkom Eungpuang2)
1)Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002
2)Dr., Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon Kaen University
The purpose of this research was to develop teacher towards operating student care and support system: a case study of Buayaipittayakom School. Action research method was used for conducting this research through four processes including planning, action, observation, and reflection. Target group was 24 teachers at Buayaipittayakom School. Methods of development included 1) holding a meeting for giving information and raising awareness, 2) providing a field trip, 3) organizing a workshop, 4) supervision, 5) sharing and learning, and 6) advertisement. Data collection tools consisted of semi-structured interview, note form, observation form, and questionnaire. Data from the questionnaire was analyzed for figuring out frequency, percentage, mean, and standard deviation. Another data were analyzed by explaining significant findings, verified by triangulation technique, and presented through descriptive analysis form.
The findings were as follows:
During the first cycle of development, teachers could understand well and be able to operate student care and support tasks. However, some problems had occurred after finishing some processes of the operation. Some teachers had still not understood in some processes and lacked of confidence to deal with their tasks. Thus, the second cycle of operation was made for enhancing teachers to understand more about the system and be better on dealing with the tasks. Teachers could work based on the processes of this system which help preventing and solving students’ problems throughout the school. Teachers also understood their role as students’ supervisor and helper. They were confident on providing and managing related activities effectively according to the student care and support system. These could consequently help to support students’ good quality of both physical and mental aspect. Students could also be better on having knowledge, ability, morals, ethics, and desired characteristics.