การเปรียบเทียบผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนด้วยโปรแกรมบทเรียนเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถนำไปใช้เป็นนวัตกรรมเพื่อการ เรียนรู้ หรือศึกษาทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียนร่วมกับเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75(2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรม บทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบSTAD และการเรียนรูปแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรม บทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษา อังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่ เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง ประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสาร และ เจตคติที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Hotelling T2
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI มีความ ก้าวหน้าทั้งด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD และการเรียนรูปแบบ TAI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ TAI มีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ดีกว่านักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนร่วมกับการเรียนรูปแบบ STAD
Comparison of Learning Effects in Foreign Language (English) of Prathomsuksa 6 Students between Using Courseware with STAD and TAI Learning Style
Tassanee Srisa-ard*, Dr. Pachoen Jitrakarn and Dr.RungsonSinghalert
Educational Communications and Technology, Faculty of Education, Mahasarakham University, Mahasarakham, 44150
The Courseware Program is an innovative activity that students can use for learning lessonsfor additional study and reviews by themselves at any time and place. The purposes of this study were : (1) The efficiency in Foreign Language (English) of Prathomsuksa 6 Students between Using Courseware with STAD and TAI Learning Style for 75/75 efficiency standard. (2) Examine the effectiveness index in Foreign Language (English) of Prathomsuksa 6 Students between Using Courseware with STAD and TAI Learning Style (3) Comparison ofthe achievement before and after using the Learning Effects in a Foreign Language (English) of Prathomsuksa 6 Students between Using Courseware with STAD and TAI Learning Style. (4) Comparisonof the communication skills before and after of Learning Effects in a Foreign Language (English) of Prathomsuksa 6 Students between Using Courseware with STAD and TAI Learning Style. (5) Comparison ofthe achievement the communication skills and the attitudes after Learning Effects in aForeign Language (English) of Prathomsuksa 6 Students between Using Courseware with STAD and TAILearning Style.The statistics indata analysis werepercentage, mean, standard deviationstatisticalhypothesis testing by Hotelling T2.
The results of the study were follows:
1. The students had progressed their effective learning by courseware program with STAD and TAI Learning Style.
2. The students hadstatistically significant of the achievement and the communication skill (English) before learned with STAD and TAI Learning Style is .01.
3. The attitude of students using the Courseware with TAI LearningStyle better than the Courseware with STAD Learning Style.