รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ในภาวะภัยน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม

Main Article Content

นปดล นพเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ในภาวะภัยน้ำท่วมและหลัง น้ำท่วมและ 2) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อการอยู่ในภาวะภัยน้ำท่วมและหลังน้ำท่วมให้แก่นักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ครูและบุคลากร และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายและเลือกแบบเจาะจง การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาเบื้องต้น ระยะที่ 2 การพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อการใช้ชีวิตอยู่ในภาวะภัย น้ำท่วมและหลังน้ำท่วม ระยะที่ 3 การประเมิน ผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อสรุป ประเมินสัมฤทธิผลและรายงานโครงการ เผยแพร่ต่อสาธารณชน และระยะที่ 4 การสร้างเครือข่ายและความยั่งยืน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ t – test

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ในภาวะภัยน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม คือ SAEN MODEL

2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “กระบวนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ในภาวะ ภัยน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม” มีค่าเท่ากับ 0.6778 แสดงว่าหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ “กระบวนการเรียน รู้เพื่อการอยู่ในภาวะภัยน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม” นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 67.78

3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังกิจกรรมการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการโครงการ “กระบวนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ในภาวะภัยน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม” ของนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 และ 6 จำนวน 24 คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยหลังการฝึกอบรมมีค่าคะแนน เฉลี่ยสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม 

 

Model in The Learning Process for The Flood and After Flood

Pol.L/c Dr. Napadon Noppakroh

Director of Bansoongyang School, Tumboon Khumaeng, Muangsueng District. Roi-et Province, Thailand, 45220

This research has the following goals: 1) to make the learning process is vulnerable to disasters. Flood and after flooding. 2) to develop knowledge and skills for living in a flood and after flooding to the students. The samples used in the study. Students in grade 5-6 teachers and staff the parents of 60 people. Derived by simple random sampling. The research is divided into four Phase 1 study of problem initial Phase 2 development of knowledge and skills for living in a flood and after flooding Phase 3 assessment projects to conclusion. project evaluation and Reporting Publicly. Phase 4 network building and sustainability. The statistics used in data analysis, including basic statistics, percentage, mean and standard deviation. Including statistical hypothesis testing using t - test.

The results showed that :

1) Model in the learning process for the flood and after flooding the learning process SAEN Model.

2) Index effectiveness of training activities, workshops, the “process of learning to live in a flood and after flooding” are equal to 0.6778, indicating that after the workshop the “process of learning to live in a disaster. flood and after flooding, “the student with the knowledge increase was 67.78 percent.

3) The comparison between test scores measuring knowledge before and after training events, workshops, projects. “The process of learning to live in a flood and after flooding” of students in Grade 5 and 6 with 24 different significant statistical level of 0.01 after the training is invaluable. average higher than before training.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)