การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอาคิตะ ร่วมกับเทคนิคบันได 6 ขั้น

Main Article Content

ทิฆัมพร ตอพล
สิทธิพล อาจอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอาคิตะ ร่วมกับเทคนิคบันได 6 ขั้น ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอาคิตะ ร่วมกับเทคนิคบันได 6 ขั้น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลชุมชนภูกระดึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 32 คน การวิจัยเป็นแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบอาคิตะ ร่วมกับเทคนิคบันได 6 ขั้น จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมของครูและนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ และแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญเฉลี่ยเท่ากับ 22.53 คิดเป็นร้อยละ 75.10 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 78.13 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 22.34 คิดเป็นร้อยละ 74.78 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติเดช สุขสาร. (2562). การประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคิตะโมเดลในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 17-23.

จิราพร ขวัญธนเจริญ, อภิชาติ พยัคฆิน, และธัชทฤต เทียมธรรม. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอะคิตะที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(2), 38-48

ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ (AKITA Action). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3), 9-16.

ชุติมา ยอดตา. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เดชชาติ ทองดี. (2566). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีนและสมรรถนะการคิดขั้นสูง ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบผสมผสาน (Hybrid Learning) โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบอาคิตะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2561). การอ่านให้เก่ง. นนทบุรี: กระดาษสา.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรภัทร์ ศิริรส และมณฑา ชุมสุคนธ์. (2565). การพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action) ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(3), 281-293.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พิชชาอร มินทยักษ์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการอ่านด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้นร่วมกับแบบฝึกหัดออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Liveworksheets สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, เฉลิมชัย มนูเสวต, และวาสนา วิสฤตาภา. (2562). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคิตะโมเดลในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 92-106.

โรงเรียนอนุบาลชุมชนภูกระดึง. (2565). รายงานผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน. เลย: โรงเรียนอนุบาลชุมชนภูกระดึง.

ลักขณา สริวัฒน์, (2549). การคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก http://www.niets.or.th

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2564). หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกัญญา ศรีสืบสาย. (2551). การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการอ่านและการคิด. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

สุภาพร พิมพ์บุษผา. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนเชิงรุกของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสกสันต์ ผลวัฒนะ. (2564). คู่มือฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Dallmann, M. & Boer, J. J. (1978). The teaching of reading. New York: Holt.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1992). The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin university Press.

Marzano, R.J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. California: Corwin Press.