การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย : กรณีศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

Main Article Content

วิภาษณ์ เทศน์ธรรม
กันต์ ศรีหล้า
เอกพงศ์ พัฒนากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 80/80 และ 2) ศึกษาทักษะการอ่านและเขียน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร จำนวน 49 คน ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 2) แบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย และ 4) แบบวัดทักษะการอ่านและเขียน (ก่อนและหลังเรียน) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 81.25/82.04 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลศึกษาทักษะการอ่านและเขียน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.34 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 82.59 และมีจำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 91.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 80

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กมลวรรณ มิตรกระจ่าง. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรื่อง โลกของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 6(1), 67-81.

กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ และ พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 29-42.

เกษร สุทธิปัญโญ สมปอง ศรีกัลยา และ ประสพสุข ฤทธิเดช. (2556). การพัฒนาการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำโดยใช้ แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2). 173-181.

ขวัญเกล้า ศรีโสภา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(2), 93-106.

นฤพัชร มิลังค์ สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์ และ อุดม รัตนอัมพรโสภณ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การสอนอ่านแบบ; SQ3R. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 108–117.

พรศิริ อุทัยวรรณ จารุณีซามาตย์ และ อนุชา โสมาบุตร. (2562). ผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เรื่องสมรรถนะการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนประถมที่งกลางเมืองสีสัตตะนากนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(1), 183-194.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการสร้างวินัยเชิงบวกตามแนวคิดการเรียนรู้โปรแอคทีฟ (Pro-Active learning) ที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(3), 1-16.

เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, ผณินทรา ธีรานนท์, ดารินทร อินทับทิม และ พูนพงษ์ งามเกษม. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยผ่านนิทานของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 24(2), 116-138.

มานพ ศรีเทียม ศุภรดา สุขประเสริฐ และ อมรา ศรีแก้ว. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมค่ายวิชาการ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านชัยภูมิ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(10), 95-104.

รุ่งทิวา การะกุล และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2559) .การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 38-53

ศรีสุดา จันทร์, นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล อรธิดา ประสาร และ และ ประกาศิต อนุภาพแสนยากร. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences. 3(2), 19-30.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา

อำนาจ บุตรสุริย์. (2563).ารพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สําหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.17(77), 168-176.

Krashen, S. (2004). The Power of Reading: Insights from the Research (2nd ed.). Heinemann.

Leseman, P. P. M., & de Jong, P. F. (1998). Home Literacy: Opportunity, Instruction, Cooperation and Social Cohesion. Journal of Research in Reading, 21(1), 59-69.

Liu, Y., & Pásztor, A. (2022). Effects of problem-based learning instructional intervention on critical thinking in higher education: A meta-analysis. Thinking Skills and Creativity, 45, 101069.

National Institute for Literacy. (2008). Developing Early Literacy: Report of the National Early Literacy Panel. Retrieved from https://lincs.ed.gov/publications/pdf/NELPReport09.pdf

Piaget, J. (1962). The relation of affectivity to intelligence in the mental development of the child. Bulletin of the Menninger clinic, 26(3), 129.

Solomon, S., Qin, D., Manning, M., Chen, Z., Marquis, M., Averyt, K., ... & Miller, H. (2007). IPCC fourth assessment report (AR4). Climate change, 374.

Vygotsky, L. S., & Cole, M. (1978). Mind in society: Development of higher psychological processes. Harvard university press.

Wilson, B. G. (1995). Metaphors for instruction: Why we talk about learning environments. Educational Technology, 35(5), 25-30.

Yeung, M. W., & Yau, A. H. (2022). A thematic analysis of higher education students’ perceptions of online learning in Hong Kong under COVID-19: Challenges, strategies and support. Education and Information Technologies, 1-28.