การตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กฤษณ์ บัวโฮม
สุมาลี ชัยเจริญ
สุชาติ วัฒนชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยโมเดลระยะที่ 2 การตรวจสอบความตรงของโมเดล ประกอบด้วยความตรงภายใน และ ความตรงภายนอกโมเดล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับการตรวจสอบความตรงภายใน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบของโมเดล ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับตรวจสอบความตรงภายนอกโมเดล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอนุบาลพรเจริญ ที่เรียนในรายวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์โปรโตคอล สรุปตีความและบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความตรงภายในทั้ง 3 ด้าน มีความสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีและกรอบแนวคิดการออกแบบที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโมเดล 2) ความตรงภายนอก พบว่าผลกระทบของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อม คือ (1) การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์โปรโตคอล พบว่า ผู้เรียนมีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน 8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การถอดรหัสข้อความ ขั้นที่ 2 การอ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว ขั้นที่ 3 การกระตุ้นและเชื่อมโยงความรู้เดิม ขั้นที่ 4 การตั้งคำถาม ขั้นที่ 5 การอนุมาน ขั้นที่ 6การจัดลำดับความสำคัญ ขั้นที่ 7 การสรุปความเข้าใจ และ ขั้นที่ 8 การสังเคราะห์ความรู้ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านอย่างมีวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสหสัมพันธ์ (correlation analysis) ด้วยวิธี Pearson correlation พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่าเท่ากับ 0.818 หมายถึงมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง  3) ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมในด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมวิชาการ. (2543). การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลกษณะอันพึงประสงคตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เตือนใจ แสงไกร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(1), 45-57.

ปินา สุขเจริญ และ สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), 12-23.

พรวุฒิ คำแก้ว และ สุมาลี ชัยเจริญ. (2562). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 1-10.

พิญญารัศม์ สิงหะ และ สุมาลี ชัยเจริญ (2562). การตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 22-31.

ยุพรพรรณ ตันติสัตยานนท์. (2555). การพัฒนาโมดูลการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจที่เน้นจริยธรรมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความตระหนักด้านจริยธรรมทางธุรกิจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, Veridian E-Journal, 6(1).

วสันต์ ศรีหิรัญ กอบสุข คงมนัส และสุมาลี ชัยเจริญ. (2562). การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, SilpakornUniversity Humanities, Social Sciences and arts, 12(2), 359-382.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2060). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการอ่านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียน ด้วยหนังสือการ์ตูนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,

วัชราภรณ์ ถ้ำกลาง และสุมาลี ชัยเจริญ (2560) การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเมตาคอกนิชันของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 1-13.

ศรเพชร สีหะราช และ สุมาลี ชัยเจริญ (2561). กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศลาว. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29, 9–20.

ศรีสุดา ดวงโต้ด และสุมาลี ชัยเจริญ (2563). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้เกมมิฟิเคชันที่ส่งเสริมการกํากับตนเอง สําหรับนักศึกษาระดับปริญญญาตรี. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 68-77.

สิริพร รัตนมุง. (2559). การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ SQ4R. มหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อ ,จาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php

สุชาติ วัฒนชัย. (2553). การพัฒนาโมเดลการสร้างความรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2015). สรุปผลการประเมิน PISA 2015วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2550). ศึกษาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียน ที่เรียนจากนวัตกรรมการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิด. (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid= 6420&filename=develop_issue

Valerio, A. (2013). Translation and ideology: a critical reading. Frelamce researcher,Iistanbul, Turkey.

Güneş, A., and Güneş, F. (2014). Teaching critical reading in schools and associate with education Kastamonu Üniversity, Department of Information Management, Turkey.

Hijazi, D. (2018). The Relationship Between Students’ Reading Comprehension and Their Achievement in English. Yarmouk University, Irbid, Jordan. https://www.researchgate.net/publication/324915696_

Harvey, S., and Goudvis, A. (2007). Strategies That Work: Teaching Comprehension for Understanding and Engagement 2nd Edition.

Richey, R. C., & Klein, J. (2007). Design and Development Research: Methods, Strategies, and Issues. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Kuşdemir, Y., and Bulut, P. (2018). The Relationship between Elementary School Students' Reading Comprehension and Reading Motivation. Institute of Educational Sciences. Retrieved July 25, 2022, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1194556.pdf

World Economic Forum. (2017). The Global Competitiveness Report 2017–2018. World Economic Forum. Retrieved July 25, 2022, from https://www3.weforum.org/docs/GCR2017-2018/05FullReport/ TheGlobalCompetitivenessReport2017%E2%80%932018.pdf