ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการวิเคราะห์แรง
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 ส่งผลกระทบให้สถานศึกษาในประเทศไทยหันมาจัดการศึกษาแบบออนไลน์ทดแทนการเรียนแบบปกติ ที่อาจส่งผลเสียต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการวิเคราะห์แรง และศึกษาระดับการยอมรับของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยด้วยแบบแผนวิจัยแบบกึ่งการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 35 ข้อ แล้วจึงให้กลุ่มตัวอย่างทำการประเมินระดับการยอมรับที่มีต่อการเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างได้คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเฉลี่ย 11.03 คะแนน และ 25.67 คะแนนตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยของความยอมรับต่อการเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการวิเคราะห์แรงเท่ากับ 4.39 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .503 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบค่าสถิติทดสอบทีเท่ากับ 26.821 และ Sig. เท่ากับ .001 จึงสรุปได้ว่าหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์แรง ด้วยการเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านแล้ว ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าผู้เรียนมีความยอมรับต่อการเรียนแบบออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการวิเคราะห์แรงในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (FLIPPED CLASSROOM : LEARNING SKILL IN CENTURY 21ST). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 171-182.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถึใหม่ (Design-Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
ธนพัฒน์ ทองมา. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(2), 34-52.
พรชนก จันทิมา และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 78-88.
ภัทรา เสมอวงษ์ กฤตณะ พฤกษากร อาทิตยา เนียมสอาด อรปรียา ปิยังกร และธัญภัทร ศาสตระบุรุษ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาล่าช้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(4), 118-131.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565 จากhttps://www.moicovid.com/
สภาวิศวกร. (2564). รายวิชาทดสอบความรู้ระดับภาคีวิศวกร. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://coe.or.th/faq/
step2-4-person/
สรกานต์ ศรีตองอ่อน. (2565). เฉลยวิธีทำข้อสอบสภาวิศวกร วิชา Engineering Mechanics : Statics. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564, จาก https://www.gooshared.com/d/ODIzMy00
อมิตา กลิ่นกาหลง อรวรรณ บุญรอด และศุภวัฒน์ วิสิฐศิริกุล. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมแรงและการเคลื่อนที่. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ศึกษาครั้งที่ 2 พ.ศ.2562, 21-22 มีนาคม 2562, พิษณุโลก, ประเทศไทย.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Virginia: International Society for Technology in Education.
Engzell, P., Frey, A., & Verhagen, M.D. (2021). Learning loss due to school closures during the COVID-19 pandemic. In Proceedings of the National Academy of Sciences, 118(17), e2022376118.
Ibrahim, N.K., Al Raddadi, R., AlDarmasi, M., Al Ghamdi, A., Gaddoury, M., AlBar, H.M., & Ramadan, I.K. (2021). Medical students’ acceptance and perceptions of e-learning during the Covid-19 closure time in King Abdulaziz University, Jeddah. Journal of infection and public health, 14(1), 17-23.
Flipped Learning Network (FLN). (2014). The Four Pillars of F-L-I-P™. Retrieved July 10, 2022 from https://flippedlearning.org/definition-of-flipped-learning/
Phuangprayong, K. (2021). THE SITUATION OF IMPACT, SUPPORT NEEDS AND ADAPTATION OF WORKING AGE POPULATION DURING THE COVID-19 PANDEMIC: EMPIRICAL STUDY IN BANGKOK. Suthiparithat, 35(1), 266-286. Retrieved November 29, 2022, from https://so05.tci-thaijo.org/ index.php/ DPUSuthiparithatJournal/article/ view/249546
Sabates, R., Carter, E., & Stern, J.M.B. (2021). Using educational transitions to estimate learning loss due to COVID-19 school closures: The case of Complementary Basic Education in Ghana. International Journal of Educational Development, 82, 102377.
Teo, T. (2010). Development and validation of the E-learning Acceptance Measure (ElAM). The Internet and Higher Education, 13(3), 148-152.
Tongpan, N. (2013). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills: Rethinking How Students Learn) โดย James Bellanca และ Ron Brandt (บรรณาธิการ) วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ (ผู้แปล) กรุงเทพฯ: Openworlds, 2554. 492 หน้า. Kasetsart Journal of Social Sciences, 34(3), 590-595.