ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม

Main Article Content

จิรัชยา เจียวกีก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน ของสาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชนของนักศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ในด้านความรู้ และการปฏิบัติการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) นักศึกษามีความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยรวมทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.20, S.D. = 0.54) ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาได้จริง รวมถึงสามารถพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิตติพันธ์ วิบูลศิลป์, และจิณดิษฐ์ ละออปักษิณ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(3), 346-362.

จิรัชยา เจียวก๊ก, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, และนวพล แก้วสุวรรณ. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระและการสัมมนาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(1), 104-118.

จิรัชยา เจียวก๊ก. (2565). การใช้ Google Classroom ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 9(1), 65-76.

นภาภรณ์ เพียงดวงใจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565, จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/57

นิชาภา บุรีการญจน์, และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 768-782.

พุฒิพงษ์ มะยา. (2561, มกราคม). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรมเรื่องการตั้งราคาขาย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 1สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน โดยใช้บทเรียนออนไลน์ (Google classroom). ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565, จากhttp://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-3-1_1525838788_5914620016.pdf

ลัทธพล ด่านสกุล. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีการกำกับตนเองที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างการโปรแกรม และการกำกับตนเองของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565, จาก https://www-old.kmitl.ac.th/findbook/392453

วรรษชล พิเชียรวิไล. (2563). รายงานบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ นำเสนอต่อคณะทำงานพิจารณาทุนวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน การสอนและวิจัยในชั้นเรียน : ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. สถานพัฒนาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2565, จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/8497

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์.

ศักดา ไชกิจเจริญภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 2(2), 12-15.

สุพินดา ณ มหาไชย. (2556). 'Flipped Classroom' ห้องเรียนกลับด้าน. คมชัดลึก. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2565, จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/157502

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556, พฤษภาคม). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2565, จาก http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf

Bergmann, J., &Sams, A. (2012). Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day. USA: International Society for Technology in Education.

Guglielmino, L. M. (1978). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Dissertation Abstracts International, 38, 6467A.

Joo, Y.J., Lim, K.Y., & Kim, E.K. (2014). Online university students’ satisfaction and persistence: Examining perceived level of presence, usefulness and ease of use as predictors in a structural model. Computers & Education. 57(1), 1654–1664.

Thomthong, J. (2014). ห้องเรียนกลับด้าน (The Flipped Classroom). Prezi. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2565, จาก https://prezi.com/o1meklxbpyl2/the-flipped-classroom.

Williams, Beth. (2013). How I flipped my classroom. NNNC Conference. Norfolk, NE.