มุมมองของครูวิทยาศาสตร์ต่อการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์

Main Article Content

พันธุ์พฤกษ์ ดาวัลย์
ผศ.ดร.สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตแบบใหม่ ทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวด้วยการออกแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของครูวิทยาศาสตร์ต่อการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบผลการวิเคราะห์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา พบว่า ครูมีมุมมองในด้านต่างๆ ดังนี้ ถึงแม้ครูส่วนมากจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์อยู่พอสมควร แต่ผู้บริหารและครูยังมองว่าการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ประเด็นหลักในการจัดการศึกษา ทั้งนี้ครูมองว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานนั้นสามารถส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ อีกทั้งทักษะการเร้าความสนใจมีความสำคัญมากต่อการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับการวัดและประเมินผลต้องปรับให้มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบออนไลน์ และอุปสรรคสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์มีมาก ฉะนั้นผู้บริหารและครูจำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาตนเองเพิ่มเติมยิ่งขึ้นเพื่อให้การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี และ ปภัชญา สังชาตรี. (2564). 5 รูปแบบสำหรับการจัดการการสอนในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(3), 66-73.

ปิยะสุดา เพชราเวช และพระครูกิตติวราทร. (2564). แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ในยุคโควิด. วารสารวนัมฎอง แหรกพุทธิศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 103-115.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2563). เรียน “ออนไลน์” กับการปิด-เปิดโรงเรียนในช่วงโควิด-19. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttps://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/621935

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565, จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

วรรณงาม มาระครอง. (2553) การส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนม่วง จังหวัดขอนแก่นในการเรียนรู้เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS approach).ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภกร สุขยิ่ง ธิติยา บงกชเพชร และนุชจิรา ดีแจ้ง. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการ ใช้ข่าวเป็นสื่อ เรื่อง สภาพสมดุลเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 31-44.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). รายงานการประเมินผลการเรียนนานาชาติ PISA 2006 ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/scientific-literacy/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). “เด็กฉลาดรู้” นักเรียนไทยในการศึกษาวิถีใหม่ ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2565, จาก https://www.ipst.ac.th/news/12216/20210527_project14.html

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2565). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้างระบบ e-learning ด้วย moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Bao, W. (2020). COVID-19 and online teaching in higher education: A case study of Peking University. Human Behavior and Emerging Technologies. 2(2), 113-115.

Jarman, R., & McClune, B. (2007). Developing Scientific Literacy Using News Media in the Classroom. Maidenhead: Open University Press

Kyriakides, L., Georgiou, M. P., Creemers, B. P. M., Panayiotou, A., & Reynolds, D. (2018) The impact of national educational policies on student achievement: a European study. School Effectiveness and School Improvement. 29(2), 171-203.

Moore, A., & Malinowski, P. (2009). Meditation, mindfulness and cognitive flexibility. Consciousness and Cognition. 18(1), 176-186.

National Research Council. (1996). National Science Education Standards. Washington DC, USA: National Academy Press.

Sáiz, F. B. (2013). Online Learners' Frustration. Implications for Lifelong Learning, in Distance and E-Learning in Transition (eds U. Bernath, A. Szücs, A. Tait and M. Vidal), NJ USA: John Wiley Sons, Inc.

Taylor, A. (2014). A Look at Web-based Instruction Today: An interview with Badrul Khan, Part 1. eLearn Magazine. A Publication of ACM. Retrieved March 19, 2014, from http://elearnmag.acm.org/archive.cfm?aid=2590180

Zeha, Y. (2014). Effect of teacher education program on science process skills of pre-service science teachers. Educational Research and Reviews. 9(1), 17–23.