แนวทางการจัดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสอนคณิตศาสตร์เชิงวิพากษ์ เพื่อการพัฒนาสมรรถนะหลัก 6 ด้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางและบทวิเคราะห์ของการพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์เชิงวิพากษ์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแนวทางที่นำเสนอได้ผ่านกระบวนการทดลองใช้ใน รายวิชา 398488 การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับคณิตศาสตร์ สำหรับนิสิตครู สาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 62 คน นิสิตครูผู้เข้าร่วมกระบวนการได้รับประสบการณ์ในการพัฒนาความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์เชิงวิพากษ์เพื่อสืบเสาะภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นสำรวจตัวเลขและการคำนวณในวิถีชีวิต 3) ขั้นทำความเข้าใจตัวเลขและการคำนวณในวิถีชีวิต 4) ขั้นตั้งคำถามวิพากษ์ 5) ขั้นอภิปรายและสร้างวาทกรรม 6) ขั้นนำเสนอผลการอภิปรายและการปรับการคำนวณในวิถีชีวิต และ 7) ขั้นขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ผลผลิตของการเรียนรู้ คือ ต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงวิพากษ์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงวิพากษ์พบความสอดคล้องของการใช้คณิตศาสตร์เชิงวิพากษ์กับสมรรถนะทั้ง 6 ด้าน ที่กำหนดโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยแนวทางและบทวิเคราะห์จากกิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในทุกระดับชั้นที่มุ่งเป้าเพื่อสร้างสมรรถนะให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่อยู่ในสังคมเชิงวิพากษ์เพื่อความเป็นธรรมได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เทพธิทัต เขียวคำ และ เจนสมุทร แสงพันธ์. (2562). การสะท้อนผลชั้นเรียนของครูในชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(6), 187-198.
นันธวัช นุนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าแห่งชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 17-26.
นิรัญชลา ทับพุ่ม และ วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2564). การส่งเสริมทักษะการอภิปรายโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เรื่องความคล้ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 703-717.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สมรรถนะหลัก 6 ด้าน. https://cbethailand.com/
สำนักงานราชบัณฑิตสภา (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/
อรุณี หรดาล. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(2), 1-11.
Frankenstein, M. (1983). Critical mathematics education: An application of Paulo Freire's epistemology. Journal of Education, 165(4), 315-339.
Monteleone, C. (2021). Critical mathematical thinking in young students [Doctoral dissertation, Australian Catholic University]. Australian Catholic University. https://acuresearchbank.acu.edu.au/item/8x1z9/critical-mathematical-thinking-in-young-students
Niss, M., & Højgaard, T. (2019). Mathematical competencies revisited. Educational Studies in Mathematics, 102(1), 9-28.
OECD. (2018). PISA 2022 MATHEMATICS FRAMEWORK (Draft). OECD. https://pisa2022-maths.oecd.org/ca/index.html
Register, J., Stephan, M., & Pugalee, D. (2021). Ethical reasoning in mathematics: New directions for didactics in US mathematics education. Mathematics, 9(8), 799.