ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อความสามารถทางคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชนิดา สารทอง
-
กีรติ คุวสานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของความสามารถทางคำศัพท์ของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ และวิธีการสอนแบบปกติ  และเพื่อสำรวจพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Selection)  มีจำนวนห้องเรียนเป็นหน่วยของการเลือก ห้องนักเรียนกลุ่มทดลองและห้องนักเรียนกลุ่มควบคุม ทั้งหมด 58 คน มีจำนวนห้องละ 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถทางคำศัพท์ก่อนและ หลังการทดลอง และแบบสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มทดลองต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ในงานวิจัยครั้งนี้ใช้การคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (One-way MANOVA) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า หลังการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีความสามารถทางคำศัพท์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมหลังเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นักเรียนกลุ่มทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

ชนิดา สารทอง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-

References

ไกรคุง อนัคฆกุล. (2558). การอ่านภาษาอังกฤษ:การสอนที่เน้นกลวิธีการอ่าน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 232-241.

เด่นติศักดิ์ ดอกจันทร์. (2558). วิธีการสอนภาษาแบบเน้นศัพท์: จุดเน้นที่วงจรการรู้าคำศัพท์. การประชุมวิชาการประจำปี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ.2558, 26 - 27 มีนาคม 2015, กรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.

ธนกร สุวรรณพฤติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟัง และ การพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง ภาคตัดกรวย ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, พิษณุโลก, ประเทศไทย.

ภัทรวดี สีสด. (2562). ผลของการสอนแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษและความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 42-52.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา มูลละออง. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี การอ่านแบบร่วมมือและเทคนิค แผนผังกราฟิคสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยายโสม อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมิตรา บูชา. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาโดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 210-221.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review, (2), 84-95.

Brown, T. (2009). Change by Design: How Design Thinking Transforms Organizations and Inspires Innovation. New York: Harper Business.

Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (2016). Situated cognition and the culture of learning. Educational Researcher, 18(1).

Choueiri, L. S., & Mhanna, S. (2013). The Design Process as a Life Skill. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 93, 925-929.

Martynska, M. (2004). Do English language learners know collocations? Institute of Linguistics, Adam Mickiewicz University. Miedzychodzka, 5, 60-371.

Nation. I. S. P. (2001). Learning vocabulary in another language. Cambridge: Cambridge University Press.

Oswald, D. (2016). d.school: Institute of Design at Stanford: Welcome to the Virtual Crash Course in Design Thinking. Retrieved January 13, 2022, from http://dschool.stanford.edu/dgift/

Richards, J. C. and Rodgers, T. S. (2003). Approaches and methods in language teaching. 2nd ed. New York: Cambridge University Press.

The Stanford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE.

Retrieved January 19, 2022, from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAM P2010L.pdf

Willkins. D. (1972). Linguistics in language teaching. London: Edward Arnold.

Xiulain, Y. (2008). An Experimental Study in the Lexical Approach to Improving. Retrieved January 8, 2022, from http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTALWYJY200803012.htm.