การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ) พ.ศ.2559

Main Article Content

วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
เชิดศักด์ ไอรมณีรัตน์
รัตนสุดา โสภวัฒนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ) พ.ศ.2559 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประเมิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ มหาบัณฑิต นักศึกษาที่กำลังศึกษา อาจารย์ในหลักสูตร และผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิต ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ) พ.ศ.2559 ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกประเด็นการสนทนาตามโมเดล CIPP ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านบริบท: ความคิดเห็นที่มีต่อสภาพแวดล้อมของหลักสูตรฯ แผนการดําเนินงานของหลักสูตรฯ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า: ความคิดเห็นที่มีต่อโครงสร้างหลักสูตร รายวิชาในหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน และสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านกระบวนการ: ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล และกระบวนการการทําวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านผลผลิต: ความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สําเร็จการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด


ข้อสรุปจากการวิจัย ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564 และนำไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติมา พันธ์พฤกษา, วิโรฒน์ ชมภู, ศาณิตา ต่ายเมือง, ลักษณ์มงคล ถาวรณา, ชัชวาล พูลสวัสดิ์, และสิริลักษณ์ แสงจันทรา. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 12-24.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพ: คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565. กรุงเทพ: คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา.

จิรวรรณ กล่อมเมฆ, จินตนา หล่อตระกูล, เพชรรัตน์ เอี่ยมละออ, และเจตนา วงษาสูง. (2564). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก. APHEIT Journal of Nursing and Health, 3(1), 16-31.

ธนยศ สุมาลย์โรจน์, สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์, ณัชพล อ่วมประดิษฐ์, และสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2563). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 5(1), 30-48.

นวลลออ ทวิชศรี, เขมิกา ปาหา, และปราณี เสนีย์. (2563). ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554. วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 438-446.

บังอร ฤทธิ์อุดม. (2560). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 203-211.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2559). มคอ2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมทรง สุภาพ. (2565). รูปแบบเพื่อประเมินหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 1-14.

สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์, ปริญญา ทองสอน, จันทร์พร พรหมมาศ, รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์, วิโรฒน์ ชมภู, และภาสกร ภักดิ์ศรีแพง. (2563). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. HRD Journal, 11(2), 8-17.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Stufflebeam, D.L. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock Publishing.