ศักยภาพการสอนคณิตศาสตร์ของครูที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการสอนคณิตศาสตร์ของครูที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด จำนวน 11 คน จากโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ในปีการศึกษา 2560 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แผนการจัดการเรียนรู้ เทปบันทึกเสียง แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ศักยภาพการสอนคณิตศาสตร์ของครูจากแนวคิดของ Sugiyama (2008) และ Inprasitha (2011) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่าครูที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดมีศักยภาพการสอนคณิตศาสตร์อยู่ในระดับที่ 3 คิดเป็น 100% โดยในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด ครูทำหน้าที่จัดเตรียมสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงด้วยตัวนักเรียนเอง จัดเตรียมโอกาสในการเรียนรู้เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหา (How to) ด้วยตนเอง จัดเตรียมโอกาสในการได้ให้เหตุผลประกอบแนวคิดที่คิดได้และเปรียบเทียบวิธีการในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย พร้อมทั้งจัดเตรียมโอกาสเพื่อให้นักเรียนได้เห็นความเชื่อมโยงของแนวคิดของนักเรียนกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การนำเสนอสถานการณ์ปัญหา โดยครูนำเสนอปัญหาปลายเปิด และคอยกระตุ้นให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ปัญหาจนกลายเป็นปัญหาที่แท้จริงของนักเรียน เพื่อที่นักเรียนจะได้มีความอยากแก้ปัญหานั้นด้วยตัวเอง และไม่รอรับแนวทางการแก้ปัญหาจากครูผู้สอน ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโดยครูให้นักเรียนแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัญหา ไม่แทรกแซงแนวคิดของนักเรียน กระตุ้นนักเรียนให้คิดแก้ปัญหาโดยใช้คำถาม และบันทึกแนวคิดของนักเรียนระหว่างที่นักเรียนแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 การอภิปรายทั้งชั้นและการเปรียบเทียบ โดยครูจะจัดลำดับแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพื่อไปนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนจากแนวคิดพื้นฐานไปสู่แนวคิดที่มีความซับซ้อนมีความเป็นนามธรรมสูง และขยายแนวคิดของนักเรียนที่ออกมานำเสนอเพื่ออธิบายถึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญของนักเรียนโดยการอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดของนักเรียน ขั้นที่ 4 การสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน โดยครูเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอทั้งหมด ผ่านการอธิบายแนวคิดของนักเรียนและสรุปจากผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียนที่ติดบนกระดานกับสื่อเสริมที่ครูเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อแนวคิดของนักเรียนกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ซึ่งครูกำหนดเป็นเป้าหมายในแผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการที่ช่วยส่งเสริมให้ครูสามารถยกระดับศักยภาพการสอนคณิตศาสตร์ของครูได้ คือ การทำการศึกษาชั้นเรียนทุกสัปดาห์กับทีมการศึกษาชั้นเรียน
Article Details
References
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ชิดชนก เชิงเชาว์. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 276-652 การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา Quality research in Education. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2554). การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์ความเป็นเลิศคณิตศาสตร์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). เอกสารประกอบกิจกรรมการเปิดชั้นเรียน Open Class จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1. ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการ.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และมะซะมิ อิโซดะ. (2554). คณิตศาสตร์สำหรับระดับชั้นประถมศึกษา ป.5 เล่ม 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุลัดดา ลอยฟ้า และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การพัฒนาวิชาชีพครูแนวใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 18-29.
Fujii, T. (2015). Lesson Study for Improving Quality of Mathematics Education. 7th ICMI-East Asia Regional Conference on Mathematics Education (pp.41-47). Cebu City: Philippines
Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.
Nohda, N. (2000). A Study of “Open-Approach” Method in school Mathematics Teaching. Makuhari: University of Tsukuba.
Stigler, J. W., & Hiebert, J. (1999). Teaching Gap: Best Ideas from the World’s Teachers for Improving Education in the Classroom. New York: Free Press.
Smith, J. P. (1996). Efficacy and teaching mathematics by telling: A challenge for reform. Journal forResearch in Mathematics Education, 27(4), 387-402.
Sugiyama, Y. (2008). Introduction to Elementary Mathematics Education. Tokyo:Toyokan Publishing Co.
Takahashi, A. (2010). Perspective and Practicing Teacher Professional Development with Standards. APEC Conference of Replicating Exemplary Pratices in Mathematics Educatio. Koh Samui, Thailand.
Takahashi, A. (2015). Lesson Study: An Essential Process for Improving Mathematics Teaching and Learning. In inprasitha, M., Isoda, M., Wang-Iverson, P.,and Yap, B. H. (Editors.). Lesson Study Challenges in Mathematics Education.(pp51-58). Singapore: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.
Yoshida, M. (2008). An Overview of Lesson Study. In Building our Understanding of Lesson Study. Philadelphia: Research for better schools Inc.