การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่ทว่าเมื่อพิจารณาวิธีการจัดการเรียนการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษยังพบว่าครูผู้สอนยังใช้วิธีการสอนแบบเดิม ให้อ่านออกเสียงและแปลให้ฟัง ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถสรุปใจความสำคัญเรื่องที่อ่านได้ อีกทั้งหนังสือที่อ่านมีเนื้อหาเยอะไม่น่าอ่าน การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาที่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างก่อนเรียน-หลังเรียน 3) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาที่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยนักศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป การดำเนินการวิจัยใช้การทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ทั้งหมด 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แผนการจัดการเรียนรู้ ทั้งหมด 10 แผน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 20 เรื่อง แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ (ระหว่างเรียน) จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ (ก่อนเรียนและหลังเรียน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า E1, E2 และค่า t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเท่ากับ 72.67/73.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 2) นักศึกษามีความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนที่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกษามีความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยนักศึกษาร้อยละ 73.33 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 73.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 70/70
Article Details
References
กณวรรธน์ บุญหล้า. (2558). การใช้กลวิธีการอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุรีภรณ์ ปุยะพันธ์. (2557). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญฯ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐธิดา กลางประชา. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading-Thinking Activity). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Chaemsai, R., & Rattanavich, S.(2016). The Directed Reading-Thinking Activity (DR-TA) and the Traditional Approach Using Tales of Virtue based on His Majesty the King’s Teaching Concepts in Seventh Grade Students’ Reading Comprehension. Journal on English Language Teaching, 9(9), 10.
El-Koumy, A. (2006). The Effects of The Directed Reading-Thinking Activity on EFL Students' Referential and Inferential Comprehension. Master's thesis, University of Suez Canal University, Egypt. Retrieved June 6, 2015, from www.eric.ed.gov
Stauffer, R. G. (1969). Teaching Reading as a Thinking Process. New York: Harper & Row.