การประเมินวินิจฉัยการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยโมเดล G-DINA

Main Article Content

Sungworn Ngudgratoke
Anusorn Koedsri

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวินิจฉัยความบกพร่องการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ 1) เพื่อสร้างข้อสอบวินิจฉัยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น   2) เพื่อวินิจฉัยและจำแนกนักเรียนตามลักษณะความบกพร่องการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนและ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความบกพร่องการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 270 คน เครื่องมือวิจัย คือแบบทดสอบการรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 ข้อ ซึ่งวัดทักษะการรู้วิทยาศาสตร์ตามที่โครงการ PISA ใช้ ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะ ทักษะการระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการอธิบายปรากฏการณ์อย่างวิทยาศาสตร์ และทักษะการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลการวินิจฉัย Generalized DINA (G-DINA)


          ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นมีค่าความถูกต้องของการวินิจฉัย และความเที่ยงของการวินิจฉัยเท่ากับ .73 และ .58 ตามลำดับ มีค่าความยากรายข้อระหว่าง .16 ถึง .61, 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องด้านการรู้วิทยาศาสตร์ทั้งสามด้าน กล่าวคือมีนักเรียนที่ขาดทักษะการระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการอธิบายปรากฏการณ์อย่างวิทยาศาสตร์ และทักษะการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 78.31% แต่มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านทักษะทั้ง 3 ด้าน เพียง 15.93% เท่านั้น ทักษะที่นักเรียนบกพร่องมากที่สุด คือ ทักษะการอธิบายปรากฏการณ์อย่างวิทยาศาสตร์ และ 3) เพศ เจตคติต่อความวิทยาศาสตร์ และความรู้เดิมมีความสัมพันธ์กับความบกพร่องทางการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)