บทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของ คณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ตามความคิดเห็นของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาถึงบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาถึงบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่มีประเภทของ เพศ คณะ ชั้นปี ที่ศึกษาแตกต่างกัน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ (คฤหัสถ์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 537 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 229 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ตามวิธีของลิเคอร์ท ซึ่งมี 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.457 ถึง 0.831 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า บทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และรายด้าน โดยด้านที่มีระดับปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านบทบาทในการเตรียมประชาชนให้เป็นพลเมืองดี รองลงมาคือ ด้านบทบาทในการวางนโยบาย ส่วนด้านที่มีระดับปฏิบัติประต่ำสุด คือ ด้านบทบาทในการตรวจสอบ
ผลการเปรียบเทียบบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมมีบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ รายด้านบทบาทในการคุ้มครองป้องกันสิทธิมีระดับปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีระดับปฏิบัติสูงกว่าเพศชาย
ผลการเปรียบเทียบบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ จำแนกตามคณะ โดยภาพรวม และรายด้านมีบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการเปรียบเทียบบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ จำแนกตามชั้นปี โดยภาพรวมมีระดับปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีระดับปฏิบัติสูงกว่าชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านบทบาทในการวางนโยบาย ด้านบทบาทในการเตรียมประชาชนให้เป็นพลเมืองดี และด้านบทบาทในการตรวจสอบมีระดับปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ มีระดับปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมอบรมหรือสัมมนาให้มีการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของคณาจารย์ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษามีบทบาทในการเตรียมประชาชนให้เป็นพลเมืองดี และแนะนำวิธีการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนอย่างถูกต้อง และนักศึกษาควรเข้าใจวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมของคณาจารย์ โดยพร้อมที่จะเรียนรู้และนำมาปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม