พลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา

Main Article Content

Rojapon Buranarugsa

บทคัดย่อ

สารพลังงานหลักที่ร่างกายสร้างขึ้นคือ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต หรือ ATP ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นได้โดย 3 ระบบพลังงาน คือ 1) ระบบฟอสฟาเจน  จะให้พลังงานรวดเร็วสำหรับใช้ในการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบรวดเร็วและเฉียบพลันในระยะเวลาอันสั้นประมาณ 8–10 วินาที 2) ระบบไกลโคเจน-กรดแล็กติก  เป็นระบบที่สลายไกลโคเจนโดยไม่อาศัยออกซิเจนซึ่งจะให้พลังงานสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อการออกกำลังกายในระยะเวลาที่ยาวกว่าระบบแรก คือ ประมาณ 80–100 วินาที และ 3) ระบบพลังงานแบบ     แอโรบิคจะให้พลังงานสำหรับการออกกำลังกายด้วยความหนักปานกลางและระยะเวลายาวนานโดยไม่มีเวลาที่สิ้นสุดหากตราบใดที่มีการจัดหาออกซิเจน กลูโคส กรดไขมัน และกรดอะมิโนในเลือดให้เพียงพออย่างต่อเนื่อง ในที่นี้ได้กล่าวถึงฮอร์โมนในร่างกายและสารเคมีที่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างพลังงาน เพิ่มสมรรถนะ เพิ่มความอดทน และกระตุ้นการสะสมอาหารที่ใช้ในการสร้างพลังงาน นอกจากนี้ได้จำแนกประเภทของกีฬาที่ใช้พลังงานที่สร้างจากสามระบบด้วยเช่นกัน และได้เน้นย้ำด้วยว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับไขมันและโปรตีนในการฟื้นฟูสภาพปริมาณไกลโคเจนในกล้ามเนื้อและตับ ฉะนั้น การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มาก ภายหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักจะช่วยในการฟื้นฟูระดับไกลโคเจนที่หมดไปจากการออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายอย่างหนักนั้น ในระยะแรกร่างกายจะใช้ไกลโคเจนเพื่อสร้างพลังงานเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อปริมาณไกลโคเจนสะสมถูกใช้ไปจนเกือบหมด ร่างกายจะหันมาใช้พลังงานจากการสันดาปไขมันเป็นหลักและโปรตีนเป็นส่วนน้อย ในระหว่างการออกกำลังกายอย่างหนัก ไกลโคเจน ไขมัน และโปรตีนสะสมจะถูกใช้ไป ฉะนั้นจะต้องชดใช้คืนโดยการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนอย่างเพียงพอ อัตราส่วนที่พอเหมาะของการบริโภคอาหารทั้งสามชนิดได้เสนอไว้ในที่นี้รวมไปถึงสัดส่วนที่เหมาะสมของปริมาณไขมันในร่างกายของนักกีฬาทั้งเพศชายและเพศหญิงสำหรับแต่ละประเภทกีฬาด้วยเช่นกัน สุดท้ายผู้เขียนได้เสนอแนะการวางแผนด้านพลังงานสำหรับก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขันหรือออกกำลังกายเพื่อประกอบการพิจารณาเตรียมความพร้อมของร่างกายต่อไป

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review Article)