การใช้กระบวนการ PLC พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ: กลุ่มสืบค้น (G.I.) วิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (I302202) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบค้น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (I30202) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบค้น (Group Investigation) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มที่ผู้วิจัยใช้เหตุผลในการเลือกเพื่อความเหมาะสมในการวิจัย(รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, 2556) โดยใช้ผลการวิเคราะห์การเรียนแบบ Learning Styles ตามแบบวิเคราะห์ผู้เรียนตามทฤษฎีลีลา การเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โดยสรุปผลตามทฤษฎีลีลาการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ปีการศึกษา 2562 เป็นประเภทร่วมมือมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แบบทดสอบปลายภาคเรียน และผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย รูปเล่มรายงานวิชาการ ชิ้นงาน แผ่นพับ สื่อวีดิทัศน์เผยแพร่งานผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
ผลการวิจัยการศึกษาผลสัมฤทธิ์จากวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบค้น (G.I.) รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ศึกษาการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(I30202) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบค้น (Group Investigation) สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ ดังนี้ หลังจากการจัดการเรียน การสอนแบบการจัดการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบค้น (G.I.) รายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ปีการศึกษา 2562 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในระดับดีมาก
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
คนิษา ลำภาศาล. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชนี นิธากร. (2551). ผลการสอนโดยใช้วิธี Group investigation model ด้วย E-learning เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยและนานาประเทศที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร. กำแพงเพชร: งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
รัชนีกร วรรณสุทธิ์. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Johnson, D. W., Johnson, R. T., & Holubec, E. J. (1994). The nuts and bolts of cooperative learning. Minnesota: Interaction Book.
Jongeling, S., & Lock, G. (1995). The group investigation model (G-I). Retrieved from http://www.condor.admin.ccny.cuny.edu/~hhartman/c3clsc.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์