ผลกระทบที่ไม่สมมาตรของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อความต้องการถือเงินในประเทศไทย

Main Article Content

พบกานต์ อาวัชนาการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานศึกษาวิจัยนี้ ทำการศึกษาฟังก์ชันความต้องการถือเงินในประเทศไทยโดยใช้แบบจำลอง Autoregressive Distributed Lags (ARDL) and Non-Linear ARDL (NARDL) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 ถึงปี พ.ศ. 2561 ไตรมาสที่ 2 ผลการศึกษาจากการประมาณค่าด้วยแบบจำลอง ARDL และ NARDL แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลอง ได้แก่ ปริมาณความต้องการถือเงินที่แท้จริง อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันในระยะยาว ผลการศึกษาด้วยวิธี NARDL แสดงให้เห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบในลักษณะที่ไม่สมมาตรต่อความต้องการถือเงินในประเทศไทย โดยผลการประมาณค่าแบบจำลองในระยะสั้น พบว่า การเปลี่ยนแปลงของ
อัตราแลกเปลี่ยนในทิศทางที่อ่อนค่าลง (POS) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยส่งผลต่อความต้องการถือเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ในระยะยาว มีเพียงการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น (NEG) และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อความต้องการถือเงิน
ในประเทศไทย นอกจากนี้ การประมาณค่าแบบจำลองด้วยวิธี NARDL มีความเหมาะสมในการประมาณแบบจำลองความต้องการถือเงินมากกว่าวิธี ARDL


คำสำคัญ: 1) ความต้องการถือเงิน 2) แบบจำลอง ARDL 3) แบบจำลอง NARDL 4) ประเทศไทย

Article Details

How to Cite
อาวัชนาการ พ. (2019). ผลกระทบที่ไม่สมมาตรของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อความต้องการถือเงินในประเทศไทย. Journal of Business, Innovation and Sustainability (JBIS), 14(3), 105–115. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/173544
บท
บทความวิจัย (Research article)

References

บรรณานุกรม (Bibliography)
Alsamara, M. and Mrabet, Z. (2018). Asymmetric impacts of foreign exchange rate on the demand for money in Turkey: New evidence from nonlinear ARDL. International Economics and Economic Policy, 2018(1), 1-22.
Arwatchanakarn, P. (2018). Exchange rate policy, monetary policy and economic growth in Thailand: A macroeconomic study, 1950-2016. Doctoral dissertation, Ph.D., The University of Newcastle, Newcastle.
Bahmani-Oskooee, M. and Bahmani, S. (2015). Nonlinear ARDL approach and the demand for money in Iran. Economics Bulletin, 35(1), 381-391.
Hossain, A. A. and Arwatchanakarn, P. (2017). Does Money Have a Role in Monetary Policy for Price Stability under Inflation Targeting in Thailand?. Journal of Asian Economics, 53(December), 37-55.
Mahmood, H. and Alkhateeb, T. T. Y. (2018). Asymmetrical effects of real exchange rate on the money demand in Saudi Arabia: A non-linear ARDL approach. PLOS ONE, 13(11), 1-12.
Pesaran, M. H., Shin, Y. and Smith, R. J. (2001). Bounds testing approaches to the analysis of level relationships. Journal of Applied Econometrics, 16(3), 289-326.
Raksong, S. (2012). The money demand behavior under the inflation targeting framework in Thailand. Journal of the Academy of Business and Economics, 12(2), 54-65.
Shin, Y., Yu, B. and Greenwood-Nimmo, M. (2014). Modelling Asymmetric Cointegration and Dynamic Multipliers in a Nonlinear ARDL Framework. In R. C. Sickles and W. C. Horrace (Eds.), Festschrift in Honor of Peter Schmidt: Econometric Methods and Applications (pp. 281-314). New York: Springer New York.