ปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากร ในเขตเมืองและเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมือง และเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมือง และเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง และศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อ การเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมือง และเขตนอกเมือง กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าธนาคารออมสินสาขาลำปาง และสาขาวังเหนือ แห่งละ 100 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเซฟเฟ่ (Scheffe) และช่วงระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 - มกราคม 2557
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเขตเมือง และเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง ให้ความสำคัญกับปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ของธนาคาร ด้านราคา ด้านช่องทางการให้บริการ/สถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร และด้านกายภาพเป็นอย่างมากในการเลือกใช้บริการธนาคาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องของประสิทธิภาพของระบบบริการทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยมีความเหมาะสม ธนาคารตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน มีการแจกของขวัญ/ของที่ระลึกตามเทศกาล ช่องทางการให้บริการที่หลากหลาย บุคลิกภาพและการแต่งกายของพนักงาน ระบบการเงินของธนาคารมีความน่าเชื่อถือ และระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือมากกว่าเรื่องอื่น
งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ธนาคารควรจะมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของธนาคาร อัตราดอกเบี้ย จัดหาที่จอดรถให้เพียงพอกับลูกค้า มีการกำหนดนโยบายในการให้บริการอย่างชัดเจนโดยเน้นคุณภาพในการให้บริการเป็น
สิ่งสำคัญ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ มีเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงานในการอำนวยความสะดวกให้บริการทางการเงินที่ทันสมัย
Factors Influencing the Adoption of Government Savings Bank’s Financial Services in Urban and Rural Areas in Lampang Province
The study on “factors influencing clients’ adoption of Government Savings Bank’s financial services in urban and rural areas in Lampang province” aims to study factors for the selection of financial services from the Government Saving Bank (GSB) and to compare the marketing mix that affects customers’ selection of the financial services from the GSB. The samples consist of 200 clients of urban and rural branches. The questionnaires are used for collecting the data. The data are analyzed by percentage, mean, standard deviation,
t-test, F-test and Scheffe. The period of consideration in this study is from November 2013 to January 2014.
The results of this study show that the clients emphasize the marketing mix consisting of products, price, channels/locations, promotion, service/process, employee and physical facilities for using the services from the banks. The clients also emphasize the efficiency of financial services, appropriated interest rate, office nearby community, souvenirs provided as a gift during festival/season, multi-service channel, uniform and personality, bank reliability and especially security.
Based on the results of the research, the following recommendations are provided: bank should improve their products, interest rate, adequate parking, clear staff policy, service procedure and internal process, good security system, and modern equipment.
Article Details
References
สมคิด ยาเคน และพรรณเพ็ญ หอมบุญมา. (2559). ปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากร ในเขตเมืองและเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 160-171.