ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย

Main Article Content

ฐาณิญา โอฆะพนม
ฐิติวรรณ ศรีเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย ขอบเขตของการศึกษาคือ เฉพาะประเทศที่มีการลงทุนโดยตรงในประเทศไทยเฉลี่ยสูงสุด 20 ประเทศจากทั่วโลก ข้อมูลของประเทศที่มีการลงทุนที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลาเป็นรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2556 รวมระยะเวลา 20 ปี ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สมการถดถอยเชิงซ้อนและใช้วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลจากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปีที่ผ่านมา (GRt-1) อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำโดยเฉลี่ย (W) อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ (INF) การใช้จ่ายของภาครัฐบาล (GOV) และการเก็บภาษี (TAX) โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติกับตัวแปรอิสระพบว่า ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ 1) อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปีที่ผ่านมา (GRt-1 ) 2) อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำโดยเฉลี่ย (W) และ 3) อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ (INF) ตัวแปรอิสระที่ความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ได้แก่ 1) การใช้จ่ายของภาครัฐบาล (GOV) และ 2) ตัวแปรการเก็บภาษี (TAX)

Factors Affecting  Foreign Direct Investment in Thailand

This study aims to investigate the factors that effect foreign direct investment in Thailand. The study’s scope includes 20 countries with the highest investment in Thailand. The data of these 20 countries came from those between 2007 and 2012. This study uses annual time series data between 1994 and 2013, 20 years in total. The quantitative analysis in this study consists of multiple regression analysis using the data Eviews processing software packages.

The results show the factors affecting Foreign Direct Investment to Thailand as follows:  1) GDP growth rate in the previous year, 2) Government expenditure, 3) Export value, 4) Import value with the statistical significance of 0.05. The test of the relationship between FDI and the independent variables indicates that the independent variables that are correlated in the same direction are: 1) GDP growth rate in the previous year, 2) average minimum income, 3) and domestic inflation. The independent variables that have the opposite relationship are 1) government, and 2) taxation.

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.32

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

ฐาณิญา โอฆะพนม และ ฐิติวรรณ ศรีเจริญ. (2559). วิปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 75-88.