การวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายการศึกษาที่มีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคเหนือ

Main Article Content

จักรพันธ์ ชัยทัศน์
ตุนท์ ชมชื่น
วัชรี มนัสสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างงบประมาณรายจ่ายการศึกษาและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคเหนือ โดยการใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทดสอบความนิ่งของข้อมูล (Unit Root test) 2) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว (Cointegration test) 3) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น (Error Correction Model: ECM) และ 4) การทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล (Granger Causality test) ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลงบประมาณรายจ่ายการศึกษาและผลิตภัณฑ์ภาคเหนือมีลักษณะนิ่ง (Stationary) จากนั้นจึงนำไปทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวและความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น พบว่า งบประมาณรายจ่ายการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวและระยะสั้นกับผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ ดังนั้นจึงนำตัวแปรทั้ง 2 ทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล พบว่า งบประมาณรายจ่ายการศึกษา และผลิตภัณฑ์ภาคเหนือมีความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของงบประมาณรายจ่ายการศึกษาเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ และการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ภาคเหนือก็เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายการศึกษา 

An Analysis of the Budget Expenditures Appropriation for Education Affecting the Northern Region Economic Growth

This research’s objective is to analyze the relationship between education budgetary expenditure and northern region economic growth. We used four steps of econometric techniques, consisting of 1) stationary of variables (Unit Root test), 2) long-run equilibrium relationship (Cointegration test), 3) short-run equilibrium relationship (Error Correction Model: ECM), and 4) Granger Causality test to identify the cause and effects concerning the movement of variables. The results of the study revealed that Budget Expenditures Appropriation for Education and Gross Regional Product of Northern region (Northern GRP) were stationary. After that, we tested long-term equilibrium relationship and short-term equilibrium relationship and found that the Budget Expenditures Appropriation for Education had an equilibrium relationship with Northern GRP in both short term and long term. Then, we tested the causality between these 2 variables. We found that Budget Expenditures Appropriation for Education and Northern GRP had two-way relationship. That is, a change of Budget Expenditures Appropriation for Education causes a change of Northern GRP and vice versa. 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.31

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

จักรพันธ์ ชัยทัศน์, ตุนท์ ชมชื่น, วัชรี มนัสสนิท. (2559). การวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายการศึกษาที่มีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคเหนือ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 62-75.