ความพอเพียง: คำตอบของกษัตริย์นักปราชญ์ มหาราชแห่งแผ่นดิน

Main Article Content

ปรีชา เรืองจันทร์

บทคัดย่อ

Sufficiency: The Answer of the Philosophical and Great King of Thailand

ปฐมบท

ตามประวัติศาสตร์เชื่อว่าชนชาติไทยสืบเชื้อสายมาจากพวกมองโกล อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน แถบภูเขาอัลไต ได้อพยพหลบหนีจากผู้รุกราน ลงตอนใต้สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติขอมปกครองอยู่ และได้รวบรวมไพร่พลแย่งการปกครองจากขอม ตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีราว
ปี พ.ศ. 1781 (สุทัศน์ สิริสวย, อ้างอิงใน สมพงศ์ เกษมสิน, 2515 หน้า 2) โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระปฐมบรมกษัตริย์ ผู้สร้างชาติไทยต้นราชวงศ์พระร่วงเจ้า สืบทอดสันตติวงศ์มาทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ยุคปัจจุบัน (จังหวัดพิษณุโลก, 2553, หน้า 9-25)

สังคมไทยได้ซึมซับอิทธิพลจากขอมอย่างมาก (สมพงศ์ เกษมสิน, 2515, หน้า 24-28) การปกครองใช้ระบบเทวสิทธิ เทวนิยม หรือสมมติเทวราช ซึ่งถือว่าองค์อำนาจมิได้มาจากประชาชนแต่ได้รับบัญชา
มาจากสวรรค์เบื้องบน ประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครอง
ถือว่าอยู่ภายใต้ร่มบารมี มิใช่เป็นการกดขี่แต่เป็นสวัสดิมงคลแก่ชีวิต (สมพงศ์ เกษมสิน, 2515, หน้า 25-37) ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองแบบ
เทวสิทธิ (Divine Rights) มีข้อสังเกต 3 ประการ คือ

  1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
  2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
  3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้-เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว

โดยที่ไทยรับระบบการปกครองแบบเทวสิทธิมาจากขอมและฮินดู พระมหากษัตริย์ถูกยกย่อง
เป็นเสมือนสมมติเทพ หลักเกณฑ์การปกครองอาศัยหลักทศพิธราชธรรมตามคติฮินดู หรือพราหมณ์ ดังนั้น ลักษณะสังคมไทย จึงเป็นสังคมยึดมั่นและเทิดทูน
องค์พระมหากษัตริย์ จากความเชื่อดังกล่าวทำให้พิธีกรรมต่างๆ ของพระมหากษัตริย์แตกต่างจากบุคคลธรรมดาตามคติของพราหมณ์ ลัทธิไศลเลนท์ เทวราชาและจักรวาทิน (ลิขิต ธีรเวคิน, 2549,
หน้า17)

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.26

Article Details

บท
บทความกิตติมศักดิ์ (Honorary article)

References

ปรีชา เรืองจันทร์. (2559). ความพอเพียง : คำตอบของกษัตริย์นักปราชญ์ มหาราชแห่งแผ่นดิน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 1-9.