การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่รับประโยชน์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ด้วยข้อมูล panel data ปีเพาะปลูก 2551, 2553 และ 2555

Main Article Content

พิมพ์ชนก ทนะวัง
มาฆะสิริ เชาวกุล
สัมพันธ์ เนตยานันท์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่รับประโยชน์เขื่อนแควน้อย ของการผลิตข้าวทั้งการทำนาปีและนาปรัง ปีเพาะปลูก 2551, 2553 และ 2555 จำนวน 181 ครัวเรือนตัวอย่างต่อปีของการทำนาปี และอีก 77 ครัวเรือนตัวอย่างต่อปีของการทำนาปรัง ในพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยฟังก์ชั่นการผลิตของการทำนาปีและนาปรัง ประมาณการด้วยข้อมูล panel data ผ่านวิธี random effect ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณปุ๋ยเคมีต่อไร่ ค่าใช้จ่ายสารเคมี ค่าจ้างเครื่องจักร ค่าจ้างแรงงานคน และค่าน้ำมัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยที่ค่าความยืดหยุ่นของผลผลิตต่อทุกปัจจัยการผลิตเป็นแบบ ยืดหยุ่นน้อย การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ พบว่า มูลค่าของผลผลิตหน่วยสุดท้ายของปริมาณปุ๋ยเคมีทั้งการทำนาปีและนาปรังเท่ากับ 0.0157 และ 0.2391 ตามลำดับ นั่นแสดงว่า การใช้ปัจจัยการผลิตของการทำนาปีและนาปรังมากกว่าระดับที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด

An Efficiency Analysis of Rice Production in The Beneficial Area of The Kwae Noi Bum Roong Dan Dam Using Panel Data crop year 2008, 2010 and 2012

The objectives of this study were to analyze the efficiencies of rice production in the beneficial areas of the Kwae Noi dam in both wet and dry seasons, in the crop year 2008, 2010 and 2012 from 181 households per year of wet season and 77 households per year of dry season in Wat Bot, Muang and Wang Thong districts, Phitsanulok. The production functions of wet and dry seasons were estimated by random effect technic. The study showed that the total quantity use of fertilizer per rai, the expenditures per rai of agricultural chemical substances, hired machinery and labor and fuel were all inefficient a shown in the insignificant coefficients at 95% confidence interval of these factors of production. The elasticity of production calculated at the average value was then all inelastic. For economic efficiency, it revealed that the value of marginal product use of fertilizer of wet and dry season were 0.0157 and 0.2391 which indicated that the utilization of this input in the wet and dry season rice was less than the optimal level of maximum profit.


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.11

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

พิมพ์ชนก ทนะวัง , มาฆะสิริ เชาวกุล , สัมพันธ์ เนตยานันท์. (2559). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่รับประโยชน์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ด้วยข้อมูล panel data ปีเพาะปลูก 2551, 2553 และ 2555. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(1), 122-137.