การวัดความเสี่ยงตลาดทุนอาเซียน 3 ประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2556

Main Article Content

นาตยา แซ่เล้า
ปริญญา มากลิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการวัดความเสี่ยงตลาดทุนอาเซียน 3 ประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเสี่ยงของตลาดทุนทั้งก่อนและหลังการรวมตัวกันของตลาดทุนอาเซียน 3 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สหพันธรัฐมาเลเซียและสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยแบ่งช่วงเวลาในการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงก่อนการรวมตัวตลาดทุนอาเซียน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2552 - 1 ธันวาคม 2554 และช่วงหลังการรวมตัวตลาดทุนอาเซียน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2555 - 1 ธันวาคม 2556 ซึ่งใช้ดัชนีซื้อ – ขายรายวันของดัชนีตลาดหลักทรัพย์นำมาคำนวณตลาดหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการวัดความเสี่ยงด้วยแบบจำลอง GARCH Model ซึ่งผลการศึกษาพบว่าทั้งช่วงก่อนและหลังการรวมตัวตลาดทุนอาเซียน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาจากความผันผวนที่เกิดจากตลาดหลักทรัพย์นั้นๆ และความผันผวนที่ส่งผ่านมาจากตลาดหลักทรัพย์อื่น ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความผันผวน ทั้งนี้ระดับและทิศทางของผลกระทบจากความผันผวนอาจขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างระหว่างโครงสร้างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ลักษณะเฉพาะของตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนกลุ่มนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นั้น     

Risk Measurement of 3 ASEAN Capital Markets during the Year 2009 – 2013

This study examined risk measurement of 3 ASEAN capital markets during the year 2009 –2013. The objective was to study and compare risk of 3 ASEAN capital markets before and after the integration of 3 ASEAN member countries: Thailand, Malaysia and Singapore.  GARCH Model was used for estimating risk in order to measure the daily securities price index of 3 ASEAN member countries. The study split the data into two timeperiods: the first period before integration starting from December 1st, 2009 to December 1st, 2011 and the second period after integration starting from December 1st, 2012 to December 1st, 2013. The results showed volatility which was transferred by the stock exchange and the other stock exchange. The internal and external factors caused the volatility. The level and direction of volatility was likely to depend on the balance between the structure of the listed companies, the economic structure of those countries, the characteristics of the stock exchanges, and the majority of the investors in those stock exchanges


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.5

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

นาตยา แซ่เล้า และ ปริญญา มากลิ่น. (2559) การวัดความเสี่ยงตลาดทุนอาเซียน 3 ประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2556. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(1), 42-55