นวัตกรรมความคิดและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา กรณีศึกษา โครงการพลังปัญญา

Main Article Content

พีระพงษ์ กลิ่นลออ

บทคัดย่อ

Innovative thinking and communication for the development

Case study: Power of Wisdom’s Project

ทั้งผู้ส่งสาร (Sender) ข่าวสาร (Message) ช่องทาง (Channel) และผู้รับสาร (Receivers) ทุกกระบวนการ ต้องเข้าใจความจริงปัจจุบัน และธรรมชาติอย่างถูกต้อง เข้าใจภาพรวม สร้างการมีส่วนร่วม เห็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ นำเรื่องมาคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองให้เข้าใจ ด้วยหลักการอ้างอิง เข้าใจด้วยความคิดเห็นของตนเองถึงเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ในพื้นฐานของการพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน ส่วนช่องทางการสื่อสารก็จะมิใช่เป็นเทคโนโลยีหรือตัวบุคคลธรรมดาโดยปกติทั่วไปเท่านั้น แต่รวมถึงลีลาการสอน การนำเสนอ รวมถึงบุคลิกภาพ แม้เป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่ก็มีผลต่อการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้รับสารเข้าใกล้ชิดสนิทสนม และพึงพอใจได้ความสุข เพื่อให้การสื่อสารนี้อยู่ในขอบข่ายที่ไม่ว่าข้อมูลสิ่งใดที่ผ่านจะเป็นศรัทธา ความเชื่อมั่นของข้อมูลบนรากฐานของความถูกต้อง จริยธรรมและจรรยาบรรณเดียวกัน คือความรู้ที่เป็นจริงซึ่งผ่านการปฏิบัติ จึงจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง มีความรู้ และเข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้ด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้รับคำสอนเป็นที่ตั้งไม่หวังผลตอบแทน นวัตกรรมช่องทางการสื่อสารจึงต้องมีหลักการส่งข้อความหรือสารที่เป็นระบบ เช่น รับหรือส่งให้ทุกวัน มีการจัดหมวดหมู่ใหม่ โดยชี้แจงไปตามลำดับ ยกเหตุผลให้เข้าใจด้วยความเมตตา นั่นคือ จุดยืนซึ่งจะไม่ปรับเปลี่ยนตามอัตราโฆษณาหรือเห็นแก่อามิส เพื่อไม่ให้กระทบกับความน่าเชื่อถือของช่องทางการสื่อสาร จึงจะเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบนวัตกรรมการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสู่ Sustainable World


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2016.1


Article Details

บท
บทความกิตติมศักดิ์ (Honorary article)

References

พีระพงษ์ กลิ่นละออ. (2559). นวัตกรรมความคิดและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา กรณีศึกษา โครงการพลังปัญญา. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(1), 1-5.