การศึกษาการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง“การศึกษาการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนบ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก” เพื่อศึกษาลักษณะต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงจากการใช้ต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยว และให้ข้อเสนอแนะโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จากประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว รวมจำนวน 600 คน
ผลการวิจัย พบว่าต้นแบบมี 4 องค์ประกอบ คือ การจัดการพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การจัดการคน การจัดการรายได้ และความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี เมื่อชุมชนนำมาใช้พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในชุมชน 4 ด้าน คือ 1) การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยว 2) การสร้างการเรียนรู้และรับรู้ในชุมชน 3) การพัฒนาที่ชุมชนได้รับจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และ 4) การรักษากฎระเบียบข้อบังคับในการท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ3.85 อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยรวม 4 ด้าน เท่ากับ 4.04 อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน
The Study of Community Changes using Community based Tourism Model of Ban Rong Kla Community, Amphur Nakhon Thai, Phitsanulok Province
This study develops a theoretical framework for understanding the characteristics of community based tourism model, community changes by using the model and the guidelines for development. Data were collected via a questionnaire survey with local resident, local staff organization and tourist. A totally 600 respondents completed the questionnaire.
The results reveal that CBT model generally involve in 4 main factors: setting, human, revenue and network cooperation. It also highlighted that CBT model creates some changes in the destination in 4 areas: the conservation of natural and cultural tourism resources, community learning and community’s perception, community development and rules and regulations enforcement. The degree of changing in each area is high (3.85). The suggestion of 4 elements is high (4.04) as well.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2013.17