ความต้องการทางการสื่อสารของผู้รับสารกลุ่ม ดิจิตอล เนทีฟ

Main Article Content

กาญจนา เชี่ยววิทย์การ
ทศพล คุ้มสุพรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร และความต้องการ ด้านเนื้อหาในการสื่อสารของเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบและนอกระบบการศึกษา ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกส่วนที่ผ่านภาคเหนือตอนล่าง 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ผลการวิจัย วิเคราะห์ตามแนวคิดความต้องการทางการสื่อสารของซอเตอร์และแวร์ลิ่ง(Sowter and Wearing) แบ่งเป็น 2 ระดับดังนี้ 1) การวิเคราะห์ระดับส่วน (Sectoral Analysis) พบว่าเยาวชนมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในชีวิตประจำวันผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทั้งจากระบบประจำที่และระบบไร้สาย และต้องการการกระจายระบบการสื่อสารไร้สายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้ใน สถาบันการศึกษาและในชีวิตประจำวัน ในราคาที่ต่ำลง นอกจากนี้ เยาวชนยังเน้นสื่อที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุที่สามารถเลือกดูในสิ่งที่ต้องการได้ทันที อย่างไรก็ตาม ความน่าเชื่อถือที่เยาวชนมีต่อ ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือทางเว็บไซต์ ได้รับความเชื่อถือรองจากวิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ 2)การ วิเคราะห์ระดับทางสังคม(Partitioning Society) พบว่าเยาวชนให้ความสำคัญกับการบริโภคเนื้อหาตามความสนใจเฉพาะ บุคคลโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่จากเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook Line Skype เป็นต้น การบริโภคเนื้อหาผ่านสื่อมวลชนมักเป็นด้านความบันเทิงเป็นหลัก การติดตามข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เป็นข่าวสารเกี่ยวกับ วงการบันเทิง และข่าวสารทั่วไป ข่าวสารประเภทหนักเช่นการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษาเป็นข่าวสารที่นิยมบริโภคน้อยที่สุดซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการแปรรูปให้สามารถ ดู ฟัง อ่านได้เข้าใจง่ายและรวดเร็วตามพฤติกรรมการบริโภค

 

Communication needs of the recipients of the digital native

This study aims to investigate the needs of teenagers, who are currently studying in non-formal and formal education schools, about the communication and communicative contents required on economic route from the east to west side, through the lower-northern part (Phetchabun, Phitsanulok, Sukhothai and Tak) of Thailand. The qualitative research was conducted, which data collection was achieved by group conversations. In addition, the results of this study were analyzed, which is based on Sowter and Wearing’ perspective needs of communication. The analysis was classified into two groups – Sectoral Analysis, first, indicates that the teenagers use communicative technology, in their everyday lives, through wireless and LAN Internet networks. Moreover, they need more effective distribution of wireless communication network with lower price, including through mobile phone and Internet network in academic institutions and everyday lives. The teenagers also require online media which gives them instant access to it. This reason allows them to be able to immediately access online media or websites, however, they are likely to place more reliability on radio and newspaper than the online social networking. Secondly, the analysis on Partitioning Society shows that the teenagers’ preference on media contents, mostly from websites and social networking such as Facebook, Line, is based on individual interest. The media contents consumed by the participants mostly are entertainment news which is basically involved with entertaining matters. In the other hand, the news related to politics, economies, and educations are the type of news that is least consumed by the teenagers, which they are suggested to be simplified to be as convenient for being instantly accessed and understood, based on the consumers’ habits.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2015.11

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)