พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ชุณหเกตุม์ กาญจนกิจสกุล

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคำนึงถึง สิ่งแวดล้อมของเยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างใน คุณลักษณะด้านปัจเจกบุคคล เศรษฐกิจ-สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อความแตกต่างในพฤติกรรมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 403 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบแบ่งชั้นสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการศึกษา พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.2) มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้งนี้ ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน การมีรายได้เสริมต่อเดือน รูปแบบการอยู่อาศัย กลุ่มสาขาวิชา การ เคยเข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน และแหล่งการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่แตกต่างมีผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน โดยเยาวชนที่เรียนอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีคะแนนพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมดีกว่ากลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ “โทรทัศน์” จะเป็นแหล่งที่เยาวชนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมากที่สุด แต่กลับพบว่า “วิทยุ” เป็นแหล่งที่มีประสิทธิผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด

 

The Behavior in Green Information Technology Usage Among Youths at a Tertiary School: A Case Study of a Tertiary School in Phitsanulok Province

The purposes of this study were 1) to study the behavior in green information technology usage among youths at a tertiary school in Phitsanulok province, and 2) to compare the differences in individual, socio-economic, and environmental characteristics on differences in such behavior. There were 403 samples, youths aged 15-24 years at a tertiary school in Phitsanulok province, selected by two-stage stratified random sampling. Questionnaire was utilized as a research tool and data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, as well as F-test. The results showed that the majority, 71.2 %, had a moderate overall behavior level in green information technology usage. Differences in level of global warming knowledge, sideline income per month, living arrangement, study field cluster, experiences in participating in an environmental conservation project, obtaining global warming information, and sources of global warming information had significantly affected differences in the behavior in green information technology usage among youths. The youths in the Health Sciences Cluster and Social Sciences Cluster had higher scores in such behavior than the youths in the Sciences and Technology Cluster. Although television was the most broadly used information source for the youths, radio was the most effective source, compared with other information sources.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2015.10

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)