กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์หลังวิกฤตน้ำท่วม : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมนวนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
Human Resources Management Strategies after Flood Crisis: A Case Study of Nawanakhon Industrial Estate
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการจัดการทรัพยากรมนุษย์หลัง วิกฤตน้ำท่วมในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และเพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์หลังวิกฤตน้ำท่วมของธุรกิจในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารระดับสูง และผู้จัดการฝ่ายทรัพยากร มนุษย์หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเทียบเท่าหรือคล้ายคลึงในธุรกิจเขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัด ปทุมธานี ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนครเป็นบริษัทต่างชาติ ร้อยละ 55.12 ส่วนใหญ่ เป็นของประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 40.95 มีขนาดบริษัทขนาดใหญ่ (ทุนจดทะเบียนมากกว่า 200 ล้านบาท) ร้อยละ 36.22 มีจำนวนพนักงาน 500-1,000 คน ร้อยละ 55.91 ระดับความรุนแรงของปัญหาและแนวทางแก้ไข พบว่า ระดับความรุนแรงที่กิจการประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตน้ำท่วมในปี 2554 ได้รับผลกระทบรุนแรง (ขาดทุนอย่างหนัก กิจการขาดสภาพคล่อง) ร้อยละ 51.18 ปัญหาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ที่บริษัทพบภายหลัง จากวิกฤตน้ำท่วม คือ การงดจ้างพนักงานใหม่ (Restricted hiring) ร้อยละ 40.16 ภายหลังภาวะวิกฤตน้ำท่วม การที่กิจการได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้ส่งผลต่อสถานการณ์ของกิจการสถานการณ์ดีขึ้นบางส่วน ร้อยละ 64.00 หากวิกฤตน้ำท่วมเกิดซ้ำขึ้นอีกครั้งในอนาคต ธุรกิจจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาตามวิธีเดิม ร้อยละ 59.06 ความสัมพันธ์ของขนาดบริษัทกับระดับความรุนแรงที่กิจการประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตน้ำท่วม ในปี 2554 พบว่า ขนาดของบริษัทกับระดับความรุนแรงที่กิจการประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตน้ำท่วมในปี 2554 ไม่มีความสัมพันธ์กัน พบว่ามีการใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์หลังวิกฤตน้ำท่วมของธุรกิจในเขตนิคม อุตสาหกรรมนวนครในภาพรวม การใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.42 จำแนก ตามบริษัท พบว่า บริษัทที่เป็นของคนไทย 100% มีการใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์หลังวิกฤตน้ำท่วม อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.38 จำแนกตามขนาดของบริษัทในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.42 และ เมื่อจำแนกตามขนาดของบริษัท พบว่า ขนาดของบริษัทต่างกันมีการใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หลังวิกฤตน้ำท่วมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05