ประเมินมูลค่าผลกระทบจากมลพิษ:กรณีพื้นที่อุตสาหกรรม ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

ผาณิต โกธรรม
พุดตาน พันธุเณร
รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์

บทคัดย่อ

พื้นที่อุตสาหกรรมท่าตูมก่อให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาสารปรอทในปลาเกินค่ามาตรฐาน การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และสำรวจความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อ โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลท่าตูม จังหวัดปราจีนบุรี โดยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เก็บข้อมูล การบริโภคปลาและผลกระทบด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง 62 ครัวเรือน ภายใต้แนวคิดต้นทุนความเจ็บป่วย (Cost of illness) และครั้งที่ 2 เก็บข้อมูลความเต็มใจรับเงินชดเชยกรณีสารปรอทในปลาเกินค่ามาตรฐานจากกลุ่มตัวอย่าง 29 ครัวเรือน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการสมมติเหตุการณ์ (Contingent Valuation Method) นอกจากนี้ ได้ศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อ สำรวจความคิดเห็นของชุมชนเกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบทางบวก ทางลบที่ชุมชนได้รับ การศึกษานี้พบว่า มูลค่าผลกระทบในรูปของต้นทุนความเจ็บป่วยโรคหัวใจขาดเลือดของผู้ที่มีสารปรอท เกิน 1 ppm จานวน 10 คน จากผู้บริโภคปลาช่อนที่สำรวจได้ 34 คน คิดเป็นต้นทุนความเจ็บป่วยเฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 1,022,196 บาทต่อปี ส่วนความเต็มใจที่จะรับเงินชดเชย พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (ร้อยละ 100) ปฏิเสธที่จะรับเงิน ชดเชย จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ชุมชนรู้สึกพอใจกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านเศรษฐกิจ และสังคม แต่ไม่พอใจด้านสิ่งแวดล้อม และต้องการให้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่ต้นเหตุเช่นการบำบัดน้ำเสีย

 

Pollution Impact Assessment: the case of an industrial area located in Tambol Thatoom, Amphur Srimahaphot, Prachinburi

Environmental pollution in relation to mercury in fish over standard has been concerned as the problem in community living in the industrial area in Thatoom district, Parchinburi.This research aims at assessing the health impact of mercury occurring in that industrial area and investigating community’s viewpoints of all concerned on the Corporate Social Responsibility (CSR) projects in the area. There are two rounds of cross-section surveys, the first was to explore the eating behavior and status and impact; the seconds was for investigating the acceptability of people eating fish above standard which is the risk factor of enhancing mercury in the human bodies. The cost of illness approach and contingent valuation method were applied for the analyses. The sample sizes of the first and second rounds are 62 and 29 household, respectively. Moreover the qualitative study in-depth interviews among stakeholders, was used for exploring community views of CSR projects and their impacts. We found that there are 10 out of 34 people eating snake-head fish and having level of methyl mercury over 1 ppm. The cost of illness of people having risk of manifesting cardiovascular disease was estimated to be 1,022,196 baths per person per year. We also found that all surveyed people getting negative effects from the mercury didn’t accept any amount of reimbursement. Regarding information from in-depth interviews, Stakeholders felt thrill with Corporate Social Responsibility projects in economic and social perspectives but they didn’t think that those projects have fulfilled environmental requirements in the area. The projects or interventions can solve the cause of problem such as, Wastewater treatment is required by the community.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2015.6

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)