กระบวนการสื่อสารปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการแพร่กระจายนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Main Article Content

ภารดี พึ่งสำราญ
เสาวนีย์ วรรณประภา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการแพร่กระจายนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัย จากเอกสาร การลงพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสื่อสารเริ่มจาก คณะทำงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ (ผู้ส่งสาร) ทำการผลิตเนื้อหา (สาร) จากการรวบรวมปัญหาที่ประสบ อยู่ขณะนั้นจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เป็นหลักสูตรความรู้และหลักสูตรอบรม ในการส่งเสริมขั้นตอนกระบวนการผลิตตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งสารผ่านสื่อบุคคลเป็นหลักและใช้สื่อผสมควบคู่กันไป ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรมแล้ว เข้าสู่กลุ่มสมาชิกเกษตรกรและประธานกลุ่มเกษตรกร (ผู้รับสาร) ผลการสื่อสารเกิดผล 3 ระดับ คือ 1. ขั้นเปลี่ยนแปลง 2. ขั้นอิทธิพล 3. ขั้นสัมฤทธิ์ผล ยังพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านปัจเจกบุคคลมีผลต่อการสื่อสารแต่ไม่มากนัก และกระบวนการแพร่กระจายนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจะเริ่มที่ตัวสาร คือ 1. นวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยแปรผัน คุณสมบัติและองค์ประกอบต่างๆของนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจะ เห็นได้ถึงประโยชน์เชิงเปรียบเทียบจากโอกาสในการสังเกตเห็นได้ ความเข้ากันได้ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนของโอกาสในการ ทดลองใช้ที่ไม่มีเงื่อนไขผูกมัด 2. ผ่านช่องทางการสื่อสาร สื่อบุคคลเป็นสื่อหลักโดยผู้ส่งสารทั้ง 2 ลำดับ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ตามพื้นฐานได้เพียง 5 ข้อจาก 7 ข้อ ช่องทางการสื่อสารที่เลือกใช้เป็นลักษณะใช้ร่วมกันและบางส่วนมีการหาข้อมูล เพิ่มเติมผ่านสื่อ 3. ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะพิจารณาจากปัญหาเป็นหลัก 4. สมาชิกในระบบมีความคล้ายคลึงกันเป็น ลักษณะเครือข่ายเดียวกัน องค์ประกอบทั้ง 4 ข้อนำมาสู่การยอมรับนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยลักษณะการตัดสินใจ

 

The Communication Process of the Philosophy of Sufficiency Economy in the Diffusion of Local Wisdom Innovation: A Case Study of Kung Krabaen Bay Royal Development Study Centre

This research aims to study the communication process of the philosophy of sufficiency economy and the diffusion of local wisdom innovation of Kung Krabaen Bay Royal Development Study Centre. The information was gathered by documentary research, surveys, in-depth interviews, and group discussions with informers. The study indicated that the communication process started from the working group of the Study Centre (sender) who produced the contents (message) by collecting problems faced at the time, with then came out as knowledge such as curricula and training courses in supporting the manufacturing process based on the philosophy of sufficiency economy mainly by passing on the message to the people and using mixed media such as printing media, activity media before passing it on to the agricultural members and the chief agriculturist (receiver).The three levels of the communication results are 1. Change Level, 2. Influence Level, and 3. Achievement Level. In addition, the economic factors and individual factors were found to slightly affect the communication results and the diffusion of Local Wisdom Innovation starting from the messages which were 1. Local Wisdom Innovation; to solve problems using the diversified learning process, which comprised Process Innovation, New Product Innovation, and Services Innovation. Properties and compositions of local Wisdom Innovation showed relative advantages in observability and the non-complex compatibility of non-obligated trialability. 2. Communication Channels with personal media as the main media consisting of two senders who could only be in charge of five out of seven basic duties. There was no difference of Communication Channels chosen; they were used together in coordinating with more research information. 3. Time period; considered based on problems 4. Members of the social system who had similar characteristics as in the same networks. Therefore, the four elements mentioned above led to the acceptance of the local Wisdom Innovation by the systems of decision making.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2015.16

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

ภารดี พึ่งสำราญ และ เสาวนีย์ วรรณประภา. (2558). กระบวนการสื่อสารปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการแพร่กระจายนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 10(2), 40-54.