เพ่งมองเสรีภาพในการสื่อสารผ่านหนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี

Main Article Content

พีรยุทธ โอรพันธ์
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร
นิศา ชูโต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวรรณกรรมประวัติศาสตร์ของชาวมลายูปัตตานี เรื่อง Pengantar Sejarah Patani ซึ่งต้นฉบับดั้งเดิมเขียนเป็นภาษามลายูอักษรรูมิไนซ์โดย Ahmad Fathy al-Fatani ที่ตีพิมพ์ใน ปี ค.ศ. 1994 ซึ่งต่อมาได้ถูกแปล เรียบเรียง และตีพิมพ์เป็นไทยในชื่อประวัติศาสตร์ปัตตานี จากการศึกษาโดย ใช้แนวทางการทลายกรอบสามารถค้นพบมโนทัศน์สำคัญที่ได้จากการอ่านทั้งสิ้น 10 มโนทัศน์ ได้แก่ 1. ความเป็นปัตตานี 2. ความเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย 3. ความเจริญรุ่งเรือง 4. ความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน 5. ความชอบธรรมของผู้ปกครอง 6. การยอมรับอำนาจรัฐ 7. สิทธิและหน้าที่ 8. ความเป็นพวกพ้องเดียวกัน 9. การผสมกลมกลืน และ 10. เสรีภาพในการสื่อสาร บทความนี้ได้หยิบยกมโนทัศน์ว่าด้วยเรื่องของ เสรีภาพในการสื่อสาร โดยแสดง ให้เห็นคู่ตรงข้ามที่ดำรงอยู่ในมโนทัศน์ดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ศึกษายังได้ค้นหาร่องรอยที่ได้จากตัวบทที่ถูกให้ความสำคัญน้อยกว่า (marginal text) ที่สามารถสะท้อนให้เห็นว่าคู่ตรงข้ามที่ดำรงอยู่นั้นไม่ใช่สิ่งคงที่ตายตัว แต่สามารถถูกทำให้กลับด้าน (reverse) และแทนที่ (displace) ได้

 

Freedom of expression in ‘Patani History’: A close reading

This article is a part of a research which aimed to study Patani Malay People’s historical text called ‘Pengantar Sejarah Patani’ or ‘Patani History’. This text was originally written by Ahmad Fathy al-Fatani in the Rumi script in 1994. The text, then, was translated into Thai in 2000 by Nik Abdual Rakib Sirimethakul. The study, using the deconstruction approach, found that there were ten concepts emerging from close reading of the text including state of being Patani, status as vassal state of Siam, prosperity, relations, legitimacy of rulers, submission to state power, rights and duties, fellowship, assimilation and freedom of expression. This article describes one of the ten concepts called ‘freedom of expression’ which resulted from an extensive search of binary oppositions and then the deconstruction (reverse and displace) of their hierarchical relationships identified by ‘traces’ of the deferred meaning within the text.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2015.14

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

พีรยุทธ โอรพันธ์, สุรพงษ์ โสธนะเสถียร และ นิศา ชูโต. (2558). เพ่งมองเสรีภาพในการสื่อสารผ่านหนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 10(2), 5-21.