ธุรกรรมที่ดินในฐานะดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ [Land Transaction as a Leading Economic Indicator]
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตลาดที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความสาคัญยิ่งในเศรษฐกิจไทยวัดจากมูลค่าการชื้อขาย และปริมาณการโอนที่ดิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประมวลข้อมูลการแลกเปลี่ยนที่ดิน เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีชี้นาทางเศรษฐกิจ การโอนที่ดินมีผลต่อรายได้รัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม (5 ประเภท) ตลาดที่ดินยังความสัมพันธ์กับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ บทความนี้เสนอการวิเคราะห์พลวัตของที่ดินโดยใช้ข้อมูล 2 ชุด ชุดแรก ข้อมูลอนุกรมเวลา แสดงพลวัตและความผันผวนของตลาดที่ดิน ความสัมพันธ์กับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ชุดที่สอง ข้อมูลธุรกรรมที่ดินรายจังหวัด (จัดเรียงเป็น Panel Data) นามาพัฒนาเป็น “ดัชนีธุรกรรมที่ดิน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจจังหวัดเป็นอย่างมาก โดยสันนิษฐานว่าผลกระทบในลักษณะ “ตัวทวีคูณ” จากธุรกรรมที่ดินนั้นมีผลต่อการคลังของรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึงการเจริญเติบโตระดับจังหวัด การโอนและเปลี่ยนมือที่ดิน ข้อมูลที่ดินนั้นถือเป็น “ข้อมูลขนาดใหญ่” (ที่บันทึกการเปลี่ยนมือที่ดินทุกราย โดยกรมที่ดิน) แหล่งข้อมูลที่ช่วยให้เข้าใจพลวัตและความเหลื่อมล้าระหว่างจังหวัด เป็นหัวข้อที่สถาบันวิชาการในภูมิภาคซึ่งใกล้ชิดกับสถานการณ์ให้ความสาคัญ
Article Details
References
2. Inoguchi, M. (2011). Influence of real estate prices on domestic bank loans in Southeast Asia. Asian-Pacific Economic Literature, 25(2), 151-164.
3. Lin, P. and Fuerst, F. (2014). The integration of direct real estate and stock markets in Asia. Applied Economics, 46(12), 1323-1334.
4. Pattamasiriwat, D., Ratchatapibhunphob, P., Pumkaew, D. and Kingphuang, P. (2014). Local finance: Expanding the income base and reducing disparities. Bangkok: P. A. Living.
5. Wan, G. and Zhou, Z. (2005). Income inequality in rural China: Regression-based decomposition using household data. Review of Development Economics, 9(1), 107-120.