รูปแบบการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้

Main Article Content

ชาริณี กีรติโชติ [Charinee Keeratichote]
บรินดา สัณหฉวี [Brinda Sunhachawee]

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบการตลาดที่มีศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนโอทอปผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารระดับ 4 ดาว และ 5 ดาว ทุกรายในพื้นที่ภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 230 ราย การวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการทดสอบความแตกต่างใช้สถิติทดสอบค่าที (T-test) และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรกลุ่มเครื่องสำอางมากที่สุด ร้อยละ 41.74 และร้อยละ 37.39 ดำเนินงานกิจการวิสาหกิจชุมชนมา 7-9 ปี สำหรับรูปแบบการตลาดที่มีศักยภาพในการดำเนินงานคือรูปแบบการตลาดแบบผสมผสาน โดยต้องใช้ส่วนประสมทางการตลาดในทุกด้าน โดยผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือ บริการ การส่งเสริมการขาย ภาพลักษณ์ ราคา และ ผลิตภัณฑ์ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่าส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อศักยภาพการดำเนินงานของสถานประกอบการ ด้านลูกค้าและด้านผลประกอบการ ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. Chaturongakul, A. (2000). Marketing strategies (2nd ed.). Bangkok: Thammasart Printing House.

2. Chemsripong, S. (2017). Factors affecting export ability of herbal business in Phitsanulok province. Journal of Business, Economics and Communications, 12(2), 161-175.

3. Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2013). Thailand champion herbal products. Bangkok: Thammasart Printing House.

4. Kotler, P. (2012). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall.

5. Phongphit, S. (2009). Community enterprises guide. Bangkok: Palang Panya.

6. Ponsing, R. (2010). Thai herbs are better than imagined. Kasikorn Magazines, 83(4), 24-25.

7. Porter, M. E. (1998). The competitive advantage of nations. New York: MacMillan.

8. Sutthichaimethee, P. (2017). Varimax model to forecast the emission of carbon dioxide from energy consumption in rubber and petroleum industries sectors in Thailand. Journal of Ecological Engineering, 18(3), 112-117.

9. The Central Information Systems, Ministry of Interior. (2017). Total revenue of OTOP in fiscal year 2017 (From October 2016 to September 2017). Retrieved November 7, 2017, from https://m-society.go.th/ewt_news.php?nid=21313/