รุกขเทวดาและนางไม้ในนิราศบันทึกการเดินทางสู่ภาคตะวันออกของไทย

ผู้แต่ง

  • รัตนพล ชื่นค้า หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดี ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

รุกขเทวดา, นางไม้, ผีอารักษ์, ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์, นิราศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาคติความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาและนางไม้ในนิราศบันทึกการเดินทางสู่ภาคตะวันออกของไทย โดยศึกษาจากนิราศ 5 เรื่อง ได้แก่ นิราศเมืองแกลง โคลงนิราศฉะเชิงเทรา นิราศปราจีนบุรี นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ และ นิราศเมืองตราด โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาภูมิวัฒนธรรมกับความเชื่อและตำนาน การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางคติชนวิทยา และการศึกษาวิเคราะห์วรรณคดี
ผลการศึกษาพบว่า กวีบันทึกคติความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาและนางไม้แบ่งได้เป็นประเภทรุกขเทวดา พบใน โคลงนิราศฉะเชิงเทรา ได้แก่ เจ้าพ่อโพ (โพเทพ) และเจ้าพ่อไทร (ไทรเทพยเจ้า) สัมพันธ์กับคติความเชื่อดั้งเดิมและอ้างถึงวรรณคดีไทยเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ และ อนิรุทธคำฉันท์ และประเภทนางไม้ พบใน นิราศเมืองแกลง โคลงนิราศฉะเชิงเทรา และ นิราศปราจีนบุรี ได้แก่ นางตะเคียนและนางไม้ในป่า โดยที่กวีไม่ได้ระบุชื่อ นอกจากนั้นยังพบคติความเชื่อเกี่ยวกับ ผีอารักษ์ ประเภทเจ้าป่า ใน นิราศเมืองแกลง ผลการศึกษาไม่ปรากฏคติความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาและนางไม้ใน นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ และ นิราศเมืองตราด บทบาทของรุกขเทวดาและนางไม้ ในนิราศบันทึกการเดินทางสู่ภาคตะวันออกของไทยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ แสดงให้เห็นการเชื่อมโยง ความเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของต้นไม้ การขอพร ความรู้สึกไม่ปลอดภัย และความสัมพันธ์ ของกวีที่มีต่อนางผู้เป็นที่รัก สร้างสีสันของฉากและบรรยากาศที่ตื่นเต้นให้แก่ผู้อ่าน และสืบทอด คติความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีอารักษ์ ประเภทผีประจำต้นไม้ในสังคมไทย

References

ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์. (2556). คติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยมีอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนากันแน่ ?. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 11-18.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2564). พรรณไม้และบทบาทของพรรณไม้ในวรรณกรรมของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2543). ชีวิตและงานของสุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

ทิดถึก. (2538). หมอดูชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). เจ้าแม่ตะเคียน: การสร้างเรือนร่างหญิงให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมบริโภคแบบไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 65-98.

ภูวเนตรนรินทรฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง. (2544). โคลงนิราศฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รามทิพรจน์ (เหี้ยม รมยานนท์), หลวง. (2516). นิราศเมืองตราด. กรุงเทพฯ: แผนกการพิมพ์ กรมการทหารสื่อสาร.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2527). การถือผีในเมืองไทย. ศิลปวัฒนธรรม, 5(4), 6-17.

_______. (2554). การศึกษาสังคมไทยผ่าน “ภูมิวัฒนธรรม”. สืบค้นจาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=84.

ส. พลายน้อย. (2554). พฤกษนิยาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยิปซี.

สุกัญญา สุจฉายา. (2566). ผีในคติชนวิทยาของไทย. ใน เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี ประจำปีงบประมาณ 2566 ผี : นานาสาระความเชื่อในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บก.). (2551). พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรีและเอกสารประวัติศาสตร์ จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

เสฐียรโกเกศ. (2515). เมืองสวรรค์ และผีสาง เทวดา. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2564). บันทึกถึง “ผี” ในวรรณคดีของสุนทรภู่: ว่าด้วยความรับรู้นานาผีและการสร้างผีในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์. ศิลปวัฒนธรรม, 42(8), 118-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20