วิเคราะห์ความหมายและที่มาของการตั้งชื่อนักเรียน โรงเรียนอนุบาลศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ความหมาย, ที่มาการตั้งชื่อ , นักเรียน, โรงเรียนอนุบาลศรีนครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายและที่มาของชื่อนักเรียน โรงเรียนอนุบาลศรีนคร จังหวัดสุโขทัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแจกไปยังกลุ่มประชากรจำนวน 350 คน โดยศึกษาความหมายจากผู้ตั้งชื่อแยกเป็นนักเรียนชายหญิง และแยกตามกลุ่มความหมาย ผู้ใดเป็นผู้ตั้งชื่อ และเหตุผลสำคัญในการตั้งชื่อผลการวิจัยพบว่าความหมายของชื่อนักเรียนชายมีจำนวน 12 กลุ่มความหมาย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเกียรติยศอำนาจ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความมั่งคั่งร่ำรวย ด้านความดีงามความเจริญรุ่งเรือง ด้านมนุษย์วงศ์ตระกูล ด้านความเชื่อศาสนา ด้านความสุข ด้านคุณลักษณะคุณสมบัติ ด้านการดำรงอยู่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านความเหมาะสมการเปรียบเทียบ และด้านอากัปกิริยาส่วนความหมายของชื่อนักเรียนหญิงพบว่ามี 11 กลุ่มความหมาย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความดีงาม ด้านความเจริญรุ่งเรือง ด้านมนุษย์วงศ์ตระกูล ด้านความมั่งคั่งร่ำรวย เกียรติยศ ด้านอำนาจ ด้านความสุข ด้านความเหมาะสม ด้านการเปรียบเทียบ ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านคุณลักษณะคุณสมบัติ ด้านการดำรงอยู่ ด้านความเชื่อ ศาสนา ในประเด็นที่มาของการตั้งชื่อพบว่ามี 6 ที่มา เรียงลำดับตามที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ มารดา บิดา เลือกชื่อจากหนังสือแนะนำการตั้งชื่อ ญาติผู้ใหญ่ (ยาย, ปู่, ย่า, ป้า, ตา, ลุง, น้า, อา, พี่) แหล่งอื่น ๆ (เว็บไซต์, สื่อโทรทัศน์, วารสาร) และพระภิกษุ ตามลำดับ
ส่วนเหตุผลสำคัญในการตั้งชื่อพบว่ามีการตั้งชื่อทั้งหมด 10 เหตุผล เรียงลำดับตามที่ พบจากมากไปน้อย ได้แก่ มีความเป็นสิริมงคล มีความไพเราะ และออกเสียงง่าย มีความสอดคลองกับบุคคลในครอบครัว (พี่, บิดา, มารดา, น้อง, ยาย) ตั้งตามโหราศาสตร์ มีความแปลกใหม่ เลียนแบบชื่อเฉพาะ มีความสอดคล้องกับนามสกุลของครอบครัว ต้องการเปลี่ยนแปลงดวงชะตาชีวิต (เพื่อให้หายจากการเจ็บป่วย, เพื่อให้มีทรัพย์สินบารมี) และเหตุผลอื่น ๆ (เกิดตรงวันสำคัญของประเทศ - ไทย, เดือนเกิด) ตามลำดับ
References
นฤมล รัตน์อ่อน. (2554). ความหมาย ความเชื่อ และค่านิยมที่สะท้อนจากการตั้งชื่อนักเรียนตำบลท่าคล้องช้าง จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2547). พจนานุกรมบาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.
วิรัช ศิริวัฒนะนาวิน. (2544). การศึกษาการตั้งชื่อของคนไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สมชาย สำเนียงงาม. (2545). ลักษณะภาษาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทย. (ดุษฎีนิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สำเนียง เลื่อมใส. (2563). ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทยและวรรณคดีไทย. สืบค้นจากwww.shorturl.asia/5b6Jr
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีนคร. (2551). สภาพทั่วไป. สืบค้นจาก https://www.srinakhon.go.th/trv-otp-detail?id=298
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย