กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ผู้แต่ง

  • มะลิตา จันทร์ใหม่ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เฉิน เสี่ยวหวี้ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พนัส มัตยะสุวรรณ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คิม แทฮยอง สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • หทัยรัตน์ มัตยะสุวรรณ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

กระบวนการจัดการเรียนการสอน , ภาษาจีน, การเรียนรู้แบบเชิงรุก

บทคัดย่อ

จากการศึกษาเรื่องกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่าผู้สอนภาษาจีนในประเทศไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาจีนในรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก  โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยการทำกิจกรรมด้วยตัวผู้เรียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงรุกในการสอนภาษาจีนมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในกระบวนการเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึง   3 ปัจจัยที่สำคัญคือ 1) พื้นฐานของผู้เรียน 2) กลยุทธ์การสอน 3) ทรัพยากรในการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้มีการประเมิน การวัดผลทางความรู้ ความคิด การแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ 6 ระดับ คือ จดจำ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ สอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันตลอดจนถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนภาษาจีนขั้นสูง

References

กมล โพธิเย็น. (2564, มกราคม-มิถุนายน). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

กรกนก สอนจันทร์ และมณฑา จำปาเหลือง. (2564, กันยายน-ธันวาคม). การจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 131-139.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf

________. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf

คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. ใน ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (น. 131-139). เชียงใหม่: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จุฑาสินี ชนะศึก. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนโดยการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, วารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(1), 48-60.

จู, วาย. (2565). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

เจิ้ง, เอ. (2560). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล. (2564). ภาษาจีนกลายเป็นภาษาทางการขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) อย่างเป็นทางการ. สืบค้นจาก https://www.weerasak.org/news/news-etc/unwto

ณัฐวดี ธาตุดี และณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning), วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 129-142.

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2548). การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สืบค้นจาก. http://pirun.ku.ac.th/

ธันย์ชนก สุขเลิศนันทกิจ และไพทยา มีสัตย์. (2564, พฤษภาคม-สิงหาคม). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาจีน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบที่มีการชี้แนะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11), 192-206.

นารีนารถ กลิ่นหอม. (2561, กรกฎาคม-กันยายน). การศึกษาการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรูแบบการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ในชั้นเรียนรายวิชาภาษาจีนของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแกน, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน, 41(3), 91-103.

ปฐมพร ฉิมพาลี, อุทิศ บำรุงชีพ และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2562, กรกฎาคม-กันยายน).

การพัฒนาชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3), 127-138.

พรพรรณ พูลเขาล้าน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค SQ4R. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

มนตรี ดีโนนโพธิ์. (2564, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องตนด้วยกิจกรรมการเรียนรูแบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, วารสารจันทรเกษมสาร, 27(1), 106-123.

ศวิตา ถาวรพจน์. (2563). การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร เพื่อพัฒนาการพูดภาษาจีนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548, พฤษภาคม-สิงหาคม). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 2(2), 12-15.

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และคณะ. (2556). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริพร มโนพิเชษฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สถาบันวิจัยการเรียนรู้. (2557). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.lri.co.th/knowledge_detail.php?knowledge_id=281

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ [เอกสารประกอบการฝึกอบรม]. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลของการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. (2553). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

Bloom, B. S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I: Cognitive Domain. New York: David McKay.

Bonwell, C. C. & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom 1991 ASHE-ERIC Higher Education Reports. Washington: Office of Educational Research and Improvement (ED).

Johnson, K. & Morrow, K. (Eds.). (1981). Communication in the classroom. England: Longman Group.

Mayers, C. & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning: strategies for the college classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

McKinney, K. & Heyl, B. S. (Eds.). (2008). Sociology through Active Learning: Student Exercises. California: Sage.

Meng, Y. (2020). The Integration and Application of Active Learning Management and Curriculum Research Theory in Teaching Chinese as A Foreign Language. Education Modernization, 7(22), 56-58.

Petty, G. (2004). Active Learning Work: the evidence. Retrieved from http://www.geoffpetty.com

Prince, M. (2004). Does active learning work? A review of the research. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-231.

Shenker, J. I., Goss, S. A. & Bernstein, D. A. (1996). Instructor’s Resource Manual for Psychology: Implementing Active Learning in the Classroom. Retrieved from https://s.prych/uiuic.edu/~jskenker/active.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23