ชื่อกล้วยไม้ : การศึกษาประเภทความหมายและความเชื่อ
คำสำคัญ:
กล้วยไม้ไทย , ความหมาย, ความเชื่อบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทความหมายของชื่อกล้วยไม้ และวิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฏจากชื่อกล้วยไม้ โดยใช้ทฤษฎีอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnosemantics) เก็บข้อมูลจากหนังสือที่รวบรวมชื่อกล้วยไม้ไทย 5 เล่ม จำนวน 135 ชื่อ ผลการวิจัยพบประเภทความหมายของชื่อกล้วยไม้ 5 กลุ่มความหมาย โดยลำดับจากจำนวนมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความหมายเกี่ยวกับสัตว์ มีจำนวน 74 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 54.81 2) ความหมายเกี่ยวกับสิ่งของจำนวน 34 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 25.19 3) ความหมายเกี่ยวกับพืช จำนวน 18 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 13.33 4) ความหมายเกี่ยวกับมนุษย์ จำนวน 5 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 3.70 และ 5) ความหมายเกี่ยวกับสถานที่ จำนวน 4 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.96 ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ ความเชื่อที่ปรากฏจากชื่อกล้วยไม้ พบความเชื่อ 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกล้วยไม้เป็นพืชมงคล ความเชื่อเรื่องกล้วยไม้เป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง และความเชื่อเรื่องกล้วยไม้เป็นพืชมีคุณค่า ในท้องถิ่น
References
กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา. (2556). กล้วยไม้ป่าในผืนป่าตะวันออก
ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
________. (2558). กล้วยไม้ป่าในผืนป่าตะวันออก
ตอนที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ฐาปกรณ์ เครือระยา. (2563, กรกฎาคม - ธันวาคม). ดอกเอื้องในพิธีกรรม ความเชื่อและวัฒนธรรมล้านนา. วารสารวิจิตรศิลป์, 11(2), 177-206.
ธณัฐดา ศรศักดิ์. (2563). การสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมในการฝึกสัตว์ท้องถิ่นไว้ใช้งานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีศึกษาการฝึกช้างของชาวกูย จังหวัดสุรินทร์. (ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พรวิภา ไชยสมคุณ. (2557). การตั้งชื่อกล้วยไม้. วารสารสมาคมไทยคดีศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี, 21(1), 81-108.
ยศกร สิทธิศักดิ์ไพบูลย์, จรัลวิไล จรูญโรจน์ และวิภากร วงศ์ไทย. (2553). การศึกษาชื่อลายผ้าแพรวาในภาษาผู้ไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารวิจัย มข., 10(1), 126-133.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2550). ร้อยพรรณพฤกษา “กล้วยไม้”. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.
________. (2552). กล้วยไม้ไทย. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.
สุชาดา เจียพงษ์. (2565, กันยายน - ธันวาคม). ลายผ้าทอจังหวัดพิษณุโลก: การวิเคราะห์ความหมายและความเชื่อ. วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา, 44(3), 1-14.
สุทัศน์ ลิมปิยประพันธ์. (2554). กล้วยไม้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Frake, C. O. (1980). Language and Cultural Description: Essays. California: Standford University Press.
Nida, E. A. (1975). Componential Analysis of Meaning: An introduction to semantic structures. New York: Mouton.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย