การพัฒนารูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยวิธีสอนภาษาแบบฟัง-พูดและหลักการทางสรีรสัทศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา หุ่นศิลป์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • สำราญ ท้าวเงิน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

แบบฝึกการออกเสียงเสียดแทรก สัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ , ความพึงพอใจ, การออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการของผู้สอน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกที่พัฒนาขึ้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยเปรียบเทียบผลการทดสอบการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกที่พัฒนาขึ้นของนักศึกษา สาขาพลศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 4 ห้อง มีนักศึกษา จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ความคิดเห็นของผู้สอนเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษ และแบบฝึกการออกเสียงเสียงแทรก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ E1/E2 และ t-test แบบ Dependent                   จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลปรากฏว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการของผู้สอน มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.08 อยู่ในระดับมาก  2. ประสิทธิภาพของคู่มือการออกเสียงเสียดแทรกในภาษาอังกฤษ  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.02/82.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 80/80  3. การออกเสียงเสียดแทรกในภาษาอังกฤษหลังการสอนหลังเรียนตามแบบฝึกการออกเสียงเสียดแทรก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.43 และคะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.23  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.50 เมื่อเปรียบเทียบ พบว่า คะแนนก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงให้เห็นว่านักศึกษา มีการพัฒนาการออกเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาดีขึ้น และ 4.ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา  ที่มีต่อรูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรก อยู่ในระดับมาก ( = 4.18 ,  S.D.= 1.26)

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2539). หลักสูตรภาษาอังกฤษพุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชุมพล ปานเกตุ, จิตภินันท์ เหมือนเตย, ไพรัช ปานเกตุ และปรีชา สุขเกษม. (2563, มกราคม - เมษายน). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยสำเร็จหรือล้มเหลว. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), 341-350.

ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษและกลวิธีการเรียนการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาสหวิทยาการ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 81-101.

ถิรวิท ไพรมหานิยม, อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ และชลชลิตา กมุทธภิไชย. (2566, มกราคม-มิถุนายน). ผลการใช้ชุดการเรียนรู้สัทศาสตร์เพื่อพัฒนาการออกเสียง /ʃ/, /ʒ/, และ /tʃ/ ในตำแหน่งพยัญชนะท้ายคำภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(1), 117-132.

ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2565). การสร้างชุดนวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 124-136.

ประมาณ อุ่นพิมาย. (2561). ปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษและความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครูชาวไทยผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศชั้นประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์).

ปรารถนา ผดุงพจน์. (2564, กรกฎาคม - ธันวาคม). การพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาโดยการใช้ชุดการฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษ ในรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 82-95.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555, กรกฎาคม - ธันวาคม). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการนิเทศ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(2), 25-40.

เรืองชัย วัฒนศัพท์. (2561). การพัฒนาการออกเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 2 ตามแบบฝึกการออกเสียงเสียดแทรก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์).

สิริดนย์ แจ้งโห้, สิริมา ป้วนป้อม, อมลณัฐ หุ่นธานี และสำราญ มีแจ้ง. (2564, กรกฎาคม - ธันวาคม). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารอักษราพิบูล, 2(2), 42-56.

องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ (พิมครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณรัศมี แก้วลอย. (2555). การพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษ โดยวิธีสอนภาษาแบบฟัง-พูดและหลักการทางสรีรสัทศาสตร์. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

อัมพา ทองบุญยัง. (2565, มกราคม - มิถุนายน). การพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษที่เป็น ปัญหาโดยการใช้ชุดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ศึกษาศาสตร์ มมร, 10(1), 293 - 307.

Creswell, J. W. (2011). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantative and Qualitative Research. New Jersey: Pearson Education International.

Crystal, D. (2003). English as a global language. Cambridge university press.

Dick, W., Carey, L. & Carey, J. O. (2014). Systematic Design of Instruction (8th ed.). Ohio: Pearson.

Ellis, R. (1997). SLA research and language teaching. Hong Kong: Oxford University Press.

Fang, T., Wang, L. Y., Lin, T. B. & Huang, C. K. (2022, March). To stay or leave: a multiple-case study of the retention of native English-speaking teachers in Taiwan. Asia Pacific Education Review, 23(2), 325-340.

Festallor Education. (2021). Importance of English in Different Aspects. Retrieved from https://www.festallor-edu.com/post/why-english-is-important

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Kruse, K. (2002). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved from https://api.semanticscholar.org/CorpusID:59666533

Nair, V. K., Biedermann, B. & Nickels, L. (2017). Understanding bilingual word learning : the role of phonotactic probability and phonological neighborhood density. Journal of Speech, Language, and Hearing Research, 60(12), 3551-3560.

Nunan, D. (2003). The impact of English as a global language on educational policies and practices in the Asia‐Pacific Region. TESOL quarterly, 37(4), 589-613.

Swales, J. (1988). Discourse communities, genres and English as an international

language. World Englishers, 7(2), 211-220.

Wei, Y. & Zhou, Y. (2002, April 6). Insights into English Pronunciation Problems of Thai Students. [Meeting Papers]. The Annual Meeting of the Quadruple Helix.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23