คำอุทาน : การวิเคราะห์ประเภทและการสื่อความหมายในรายการโหนกระแส

ผู้แต่ง

  • กฤษดา บุญเกิด นักวิชาการอิสระ
  • กฤติญาณี เพชรสุข สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ทิพรดา น้ำกระจาย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • น้องหญิง นิ่มแสง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อมรรัตน์ วระคุณ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุชาดา เจียพงษ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

คำอุทาน , การวิเคราะห์ประเภท , การสื่อความหมาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทของคำอุทานในรายการโหนกระแสและ เพื่อวิเคราะห์การสื่อความหมายของคำอุทานในรายการโหนกระแส ผลการวิจัยพบรูปคำอุทาน  47 รูปคำ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ คำอุทานบอกอาการ 45 รูปคำ และคำอุทานเสริมบท 2 รูปคำ เรียงลำดับประเภทคำอุทานที่พบมากที่สุด คือ คำอุทานบอกอาการ จำนวน 45 รูปคำ คิดเป็นร้อยละ 95.75 รองลงมา คือ คำอุทานเสริมบท จำนวน 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 4.25 ส่วนการสื่อความหมายของคำอุทาน 3 ประเภท ได้แก่ 1) คำอุทานสื่อความหมายแสดงอารมณ์ คือ อารมณ์สงสาร/ปลอบโยน จำนวน 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.10  ประหลาดใจ/ตกใจ จำนวน 20 คำ คิดเป็นร้อยละ 24.40 เจ็บปวด จำนวน 3 คำ คิดเป็นร้อยละ 3.65 โกรธเคือง จำนวน 5 คำ  คิดเป็นร้อยละ 6.10 2) คำอุทานสื่อความหมายแสดงความปารถนา คือ ทักท้วง/ห้าม จำนวน 10 คำ คิดเป็นร้อยละ 12.20 สงสัย/ไต่ถาม จำนวน 15 คำ คิดเป็นร้อยละ 18.29 3) คำอุทานสื่อความหมายแสดง  การรับรู้ คือ เข้าใจ จำนวน 17 คำ คิดเป็นร้อยละ 20.73 ร้องเรียกให้รู้ตัว จำนวน 7 คำ คิดเป็นร้อยละ 8.53

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม 3 : ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กำชัย ทองหล่อ. (2556). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 54). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ซี, บี., ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล และ ยุพิน จันทร์เรือง. (2563). การศึกษาวิเคราะห์การใช้คำอุทานในวรรณกรรมแปล เรื่อง “องค์หญิงกำมะลอ” ของอรจิรา ปลาหมึกโคมเขียว เหมียวโคมแดง อสูรบาดาลและนางมารบูรพา เพื่อสร้างแบบฝึกหัดเรื่องการใช้คำอุทานของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (รายงานผลการวิจัย). เชียงราย: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ฌัชชา เวียงวิเศษ. (2564). กลวิธีการแปลคำอุทานภาษาเกาหลีเป็นภาษาไทย : กรณีศึกษารายการปกิณกะบันเทิง Six Sense. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต, สาขาเอเชียศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นิรมล ศิริวัฒน์, ขวัญฤทัย พิริยะพัฒนพันธ์ และ ขวัญฤทัย บุญทิพย์. (2556). การวิเคราะห์การใช้คำอุทานในวรรณกรรม เรื่องเพอร์ซีย์ แจ็กสัน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, ศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา, มหาวิทยาลัยมหิดล).

รุ่งทิวา ฉัททันต์รัศมี. (2554). การศึกษาคำอุทานในภาษาไทยที่ปรากฏในนิตยสารบันเทิง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สมภพ ใหญ่โสมานัง. (2545). การศึกษาการแปลคำอุทานในหนังสือการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ เป็นภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา, มหาวิทยาลัยมหิดล).

สุธาทิพย์ แหงบุญ. (2559). ภาษาจิตภาพในนวนิยายเรื่องเลื่อมสลับลาย : การใช้คำแสดงอารมณ์ความรู้สึก. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(3), 31-42.

สุชาดา เจียพงษ์. (2554). สังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนจากการใช้คำบุรุษสรรพนาม : การศึกษาเปรียบเทียบคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทย 4 ถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(2), 66-89.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2556). ระบบคำภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2546). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23