การสื่อสารด้านการเมืองของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์
คำสำคัญ:
การสื่อสารด้านการเมือง , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ , โคลงทศรถสอนพระราม, โคลงพาลีสอนน้อง , โคลงราชสวัสดิ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาประเด็นการเมืองจากพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 2) วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยศึกษาจากโคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์ ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงใช้โคลงทั้ง 3 เรื่อง เป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้านการเมือง โดยทรงสื่อสารถึงพระมหาอุปราช เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการขึ้นครองราชสมบัติ และสื่อสารถึงกลุ่มเชื้อพระวงศ์ รวมถึงกลุ่มขุนนางให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหาอุปราช และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความถูกต้อง ไม่ก่อความวุ่นวายทางการเมือง ทั้งนี้ ผลการศึกษายังทำให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศว่า มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ไม่รู้กาลอันควร ส่วนพระราชประสงค์ในการแต่งโคลง ทั้ง 3 เรื่อง เนื่องจากทรงต้องการสอนพระมหาอุปราชให้มีความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง และสั่งสอนเชื้อพระวงศ์ ตลอดจนขุนนางให้รู้จักผิดชอบชั่วดี และปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง
References
กุสุมา รักษมณี. (2554). สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ใน นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (น. 168). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
กุหลาบ มัลลิกะมาส, คุณหญิง. (2562). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ. (2564). ประวัติวรรณคดีไทย 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวน วิริยาภรณ์ (บก.). (2507ก). โคลงทศรถสอนพระราม ใน ชุมนุมพระราชนิพนธ์และบทประพันธ์. พระนคร: ป. พิศนาคะการพิมพ์.
_______ . (2507ข). โคลงพาลีสอนน้อง ใน ชุมนุมพระราชนิพนธ์และบทประพันธ์. พระนคร: ป. พิศนาคะการพิมพ์.
_______ . (2507ค). โคลงราชสวัสดิ์ ใน ชุมนุมพระราชนิพนธ์และบทประพันธ์. พระนคร: ป. พิศนาคะการพิมพ์.
เทพมนตรี ลิมปพยอม. (2543). การบ้านการเมืองเรื่องเจ้าฟ้ากุ้ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2559). วรรณกรรมอยุธยา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2549). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มติชน.ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง : คำให้การชาวกรุงเก่าคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมคำให้การขุนหลวงหาวัด. (2553). กรุงเทพฯ: แสงดาว.
พัฒน์ เพ็งผลา. (2556). วรรณกรรมบาลีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พูลศรี นนทรีย์. (2527). สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม: บทบาทและอำนาจทางด้านการเมืองการปกครองนับแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่ง สุริยามรินทร์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. (2547). ขุนนางอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2559). อิทธิพลวรรณกรรมต่างประเทศที่มีต่อวรรณกรรมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เล็กดา อิ่มใจ. (2528). การศึกษาเปรียบเทียบโคลงพระราชนิพนธ์ 6 เรื่องในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจารึกภาษาไทย,มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. (2563). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุมาลี ลิ้มประเสริฐ. (2563). วรรณคดีคำสอน ใน ประวัติวรรณคดีไทยฉบับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ภาค ข วรรณคดีไทยประเภทต่างๆ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย