ความหมายในชีวิต : บทสังเคราะห์แนวคิดสู่ปฏิบัติการทางวรรณกรรมวิจารณ์

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก นัยจรัญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อิศรา รุ่งทวีชัย กลุ่มวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความหมายในชีวิต , วรรณกรรมวิจารณ์ , จิตวิทยา

บทคัดย่อ

ความหมายในชีวิตเป็นการรับรู้และเข้าใจประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบุคคลการตระหนักรู้ถึงตัวตนและศักยภาพของตนเอง ยอมรับสถานการณ์ ภาวะที่ตนกำลังเผชิญและเรียนรู้ความหมายจากสิ่งเหล่านั้นเพื่อก้าวข้ามผ่านอย่างมั่นคง แนวคิดความหมายในชีวิตเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการศึกษาวรรณกรรมเพื่อตรวจสอบตัวบทในการนำเสนอการสร้างความหมายในชีวิตให้กับผู้อ่านได้ ซึ่งเป็นการบูรณาการการศึกษาวรรณกรรมกับจิตวิทยาผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรม โดยการสังเคราะห์ให้เห็นความหมายในชีวิตที่ปรากฏในตัวบทอันจะนำไปสู่การสร้างโจทย์หรือบทเรียนให้ผู้อ่านตระหนักถึงความหมายในชีวิตของตนเอง เห็นคุณค่าของการมีชีวิต และใช้ชีวิตเพื่อการสร้างสรรค์สังคม ซึ่งการค้นหาความหมายในชีวิตผ่านวรรณกรรมน่าจะเป็นแรงกระเพื่อมหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคมแห่งความหมายต่อไปในอนาคต

References

กันยารัตน์ เมืองแก้ว. (2561). ความหมายในชีวิต: ตัวแปรด้านความเข้มแข็งเชิงจิตวิทยา. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 6-23.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2564). จากวรรณกรรมสู่การสร้างจิตสำนึกเชิงนิเวศสำหรับเยาวชน: กรณีศึกษานวนิยายเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว. วิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 71-84.

คีตาญชลี แสงสังข์. (2561). น้ำตาแม่มด. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

ณาตรการณ์ ชยุตสาหกิจ. (2557). การสนับสนุนจากครอบครัว ความหมายในชีวิต และสุขภาวะในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติด : การวิจัยแบบผสมผสาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ดวงมนต์ จิตร์จำนง. (2556). วรรณคดีวิจารณ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

ปิติณัช สมบัติหอม และ ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย. (2560). มิติความหมายในชีวิตของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ 2560 (น. 1210-1221). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/HMO8.pdf

ฟรังเคิล, วี. อี. (2558). ชีวิตไม่ไร้ความหมาย [Man's Search for Meaning] (นพมาส แววหงส์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: แพรว.

โมกิ, เค. (2565). อิคิไก [The Little Book of Ikigai] (ชัย กฤษณะประกรกิจ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2531). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมิธ, อี. อี. (2560). อะไรทำให้ชีวิตคนเรามีความหมาย [The Power of Meaning] (อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โอ้มายก้อด.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2560). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______ . (2564). วรรณคดีทัศนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2559). จิตบำบัดแนวความหมายในชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิศรา รุ่งทวีชัย, ดลดาว ปูรณานนท์ และชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2562). การศึกษาความหมายในชีวิตเชิงประสบการณ์ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์. มหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 85-99.

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2566). ภาวะสังคมไทย 2565 ป่วยซึมเศร้าพุ่งสูง แนวโน้มวัยรุ่น-วัยทำงานฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2023/03/27358

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04