การสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาการสนทนาภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
คำสำคัญ:
สำรวจความต้องการ , เนื้อหาการสนทนาภาษาไทย , ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาการสนทนาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในสถาบันการศึกษา We Learn Thai จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาการสนทนาภาษาไทย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 19 เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของผู้เรียนปรากฎค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 19 เนื้อหา โดยเรียงลำดับจากค่าคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) การทักทาย การแนะนำตัวเองและผู้อื่น 2) การขอความช่วยเหลือ 3) อาหาร/การสั่งอาหาร 4) การขอโทษ/ขอบคุณ 5) การเดินทาง 6) บุคลิกภาพ/นิสัย 7) วันเดือนปี / เวลา 8) การพูดโทรศัพท์ 9) งานอดิเรก 10) ครอบครัว 11) ดินฟ้าอากาศ 12) ที่อยู่อาศัย 13) โรงพยาบาล 14) ร่างกาย 15) การแจ้งความ 16) สี 17) การซื้อขาย 18) การอวยพร และ 19) เทศกาล โดยกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจำนวน 9 ประเด็น คือ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสุนทรียศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านหลักภาษา ด้านวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรมต่าง ๆ เศรษฐกิจและการเมือง และด้านอาชีพ
References
ตรึงตรา แหลมสมุทร. (2556). การสร้างหนังสือเรียนภาษาไทยเบื้องต้น (รายงานผลการวิจัย). ประจวบคีรีขันธ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
พิชานัน เพ็งลี. (2553). แบบเรียนสนทนาภาษาไทยสำหรับเด็กชาวต่างชาติระดับประถมศึกษา. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
เยาวรัตน์ รุธีรยุทธ. (2560). การสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติผ่านสื่อออนไลน์. ใน ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560 (น. 311-320). เชียงใหม่: สมพรการพิมพ์.
รัตน์เลขา ฤทธิศร. (2546). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสนทนาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วีนา สงวนพงษ์ และทรงสิริ วิชิรานนท์. (2555). แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรภาษาไทยประยุกต์ สําหรับชาวต่างชาติ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา ศุภพลกิจ. (2551). การสร้างหนังสือเตรียมความพร้อมทางภาษา สำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สุชาดา ธูสรานนท์. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยวิธีธรรมชาติสำหรับนักศึกษาชาวเกาหลี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
เหลียง, เอฟ. ซี. (2556). การสร้างคู่มือสนทนาภาษาไทยเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
อดิสรณ์ ประทุมถิ่น. (2554). การสร้างแบบเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติที่สถาบัน NUS Extension มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สิงคโปร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย